รู้ไหม? ว่าผู้สูงอายุที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อย มีผลเสียอย่างไร

 

รู้ไหม? ว่าผู้สูงอายุที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อย มีผลเสียอย่างไร

ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหว กระดูก และระบบภูมิคุ้มกัน
กล้ามเนื้อไม่เพียงช่วยพยุงร่างกาย แต่ยังมีบทบาทสำคัญต่อความแข็งแรงของกระดูก
และการทำงานของภูมิคุ้มกัน สังเกตได้ว่าเด็กและผู้สูงอายุมักป่วยบ่อย ซึ่งอาจเกิดจากมวลกล้ามเนื้อน้อย

5 วิธีสังเกตภาวะกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุ

  1. ยกของหนัก 4-5 กิโลกรัมลำบาก
  2. ลุกจากเก้าอี้หรือเตียงยาก ต้องใช้มือช่วย
  3. เดินระยะสั้นแล้วเหนื่อยหรือช้าลง
  4. ขึ้นบันได 10 ขั้นแล้วเหนื่อย หรือจำเป็นต้องจับราวบันได
  5. มีประวัติหกล้มง่ายหรือบ่อย ควรพบแพทย์ทันที

สาเหตุของภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย

  • อายุเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อเสื่อมตามธรรมชาติ
  • ขาดการเคลื่อนไหว ไม่ออกกำลังกายทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอ
  • ขาดสารอาหาร โดยเฉพาะโปรตีนและวิตามินที่จำเป็น
  • ฮอร์โมนลดลง เช่น เทสโทสเตอโรนและฮอร์โมนเจริญเติบโต
  • โรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคไต หรือโรคหัวใจ
  • การอักเสบเรื้อรัง ทำให้การสร้างโปรตีนในกล้ามเนื้อลดลงลดลง

2 วิธีดูแลผู้สูงอายุให้ห่างไกลภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย

  1. โภชนาการที่เหมาะสม ควรได้รับ โปรตีน, แคลเซียม และวิตามินดี พร้อมอาหารครบ 5 หมู่
  2. ออกกำลังกาย ควรฝึก แรงต้าน (Resistance Training) เช่น ยกน้ำหนัก ใช้ยางยืด ควบคู่กับ แอโรบิก (Aerobic Exercise)

ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและการทำกิจวัตรประจำวัน การออกกำลังกายและโภชนาการที่เหมาะสมช่วยป้องกันและรักษาได้ หากต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม
ติดต่อ หน่วยอายุรกรรม แผนกโภชนาการคลินิก โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ