Entries by อรพรรณ บุญเรือง

ขอแสดงความยินดีกับ นพ.กิตติพงศ์ วัฒนาศิริ ได้รับรางวัลจากการแข่งขันการประกวดการนำเสนอผลงานวิจัย านประชุมวิชาการ The 46th RCOST Annual Meeting ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย และสมาคมออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับ นพ.กิตติพงศ์ วัฒนาศิริ ได้รับรางวัลจากการแข่งขันการประกวดการนำเสนอผลงานวิจัย านประชุมวิชาการ The 46th RCOST Annual Meeting ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย และสมาคมออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 ณ ห้อง Hall A ศูนย์ประชุม PEACH 🏅 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากผลงานวิจัยเรื่อง : A comparative study of Betamethasone and Triamcinolone acetonide as Single intra-articular injection in Knee osteoarthritis, A double-blinded, randomized controlled trial

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัย และการพัฒนาวารสาร the Eye South East Asia Journal (EyeSEA)

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์ คณบดี และ Assoc. Prof. Lou Lykheang, MD, Director of Preah Ang Duong Hospital ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัย และการพัฒนาวารสาร the Eye South East Asia Journal (EyeSEA) โดยมีคณะผู้บริหารจาก Preah Ang Duong Hospital และคณะผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้เกียรติเข้าร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามในครั้งนี้ด้วย วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2567 ณ Preah Ang Duong Hospital ราชอาณาจักรกัมพูชา พร้อมกันนี้ได้มอบใบประกาศนียบัตรสำหรับผู้สำเร็จการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดภาควิชาจักษุวิทยา แก่แพทย์กัมพูชาทีสำเร็จการฝึกอบรม จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์     

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาแพทย์ผู้ได้รับรางวัล จากการแข่งขัน Hackmed 2024 IFMSA THAILAND

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาแพทย์ผู้ได้รับรางวัล จากการแข่งขัน Hackmed 2024 IFMSA THAILAND ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2567 ณ ห้อง 1301 ชั้น 13 อาคารภูมิสิริ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และรางวัล POPULAR VOTE จากผลงาน Housepital Care แอพดูแลผู้สูงอายุ ดูแลที่บ้านให้ดีเหมือนที่โรงพยาบาล • นศพ. ธิณปวีร์ ทองกองทุน • นศพ. วิรัลพัชร วิไลชนม์ • นศพ. ฐิติกาญจน์ จึงธีรพานิช • นศพ. สุชญา ดำรงวัฒนะสุข

โครงการ Research Club (ตลาดนัดวิจัย)

พิธีเปิดโครงการ Research Club (ตลาดนัดวิจัย) ในหัวข้อ “การส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัย ระหว่าง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ รศ.นพ.ดิลก ภิยโยทัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ พร้อมด้วย และ รศ.พญ.อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมพิธีเปิดโครงการ Research Club (ตลาดนัดวิจัย) ในหัวข้อ “การส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัย ระหว่าง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ” พร้อมกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการ วันที่ 29 ตุลาคม 2567 ณ ห้องประชุมแพทย์โดม 3 คณะแพทยศาสตร์ มธ. ศูนย์รังสิต     

รศ.พญ.พชรพรรณ สุรพลชัย ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายบริการสุขภาพและวิชาการ ผู้แทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์สุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมพิธีเปิด “โครงการขอให้หายดี จังหวัดปทุมธานี” สุขภาวะ 4+1 มิติ ร่วมบูรณาการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยติดเตียงและครอบครัว

รศ.พญ.พชรพรรณ สุรพลชัย ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายบริการสุขภาพและวิชาการ ผู้แทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์สุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมพิธีเปิด “โครงการขอให้หายดี จังหวัดปทุมธานี” สุขภาวะ 4+1 มิติ ร่วมบูรณาการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยติดเตียงและครอบครัว วันที่ 29 ตุลาคม 2567  ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชัน ห้องอัศวินแกรนด์บอลลูน ซึ่ง “โครงการขอให้หายดี จังหวัดปทุมธานี” ดำเนินการโดยสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี, องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี, เทศบาลเมืองบึงยี่โถ, สาธารณสุขอำเภอ, โรงพยาบาลชุมชน, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล, หน่วยงานภาครัฐ, ภาคเอกชน องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ในการช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียงและผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ ที่ต้องเผชิญกับการรักษาที่มีระยะเวลายาวนาน อาจส่งผลกระทบต่อด้านสุขภาพของผู้ป่วย และต่อครอบครัวหรือผู้ดูแล ในแง่ของสภาพจิตใจ ความเครียด เวลา โอกาส และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น จากความสำเร็จของโครงการในจังหวัดอ่างทอง ได้มีการขยายขอบเขตการดูแลไปยังจังหวัดปทุมธานีทั้งยังครอบคลุมแนวคิด “สุขภาวะ 4+1 มิติ” โดยมุ่งเน้นบ้านผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ผ่านการบูรณาการความร่วมมือจากหลายภาคส่วน