หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว
หลักสูตรนี้มีจุดเด่นคือการเรียนแบบทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ ซึ่งมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ทำวิทยานิพนธ์อย่างเต็มที่โดยมีผู้เชี่ยวชาญในด้านที่เกี่ยวข้องคอยให้คำปรึกษาดูแล หากผู้เรียนต้องการเรียนรู้ทักษะเพิ่มเติมในรายวิชาที่สนใจก็สามารถทำได้โดยลงทะเบียนเรียนในรายวิชานั้น ๆ
หลักสูตรนี้มุ่งเน้นที่จะสร้างให้ผู้เรียนได้มีทักษะและประสบการณ์ในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์ชุมชน ซึ่งเน้นไปที่การดูแลสุขภาพในระดับชุมชน และเวชศาสตร์ครอบครัว ซึ่งเน้นไปที่การดูแลสุขภาพในระดับครอบครัว โดยผู้เรียนสามารถเลือกได้ว่าจะมุ่งเน้นไปทางเวชศาสตร์ชุมชนหรือเวชศาสตร์ครอบครัว
นอกจากนี้หลักสูตรนี้ยังได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้เรียนได้มีความเชื่อมั่นต่อคุณภาพของหลักสูตรและเพื่อให้บุคคลภายนอกมีความเชื่อมั่นต่อคุณภาพของบัณฑิตที่จบจากหลักสูตรนี้
Doctor of Philosophy Program in Community and Family Medicine
Our PhD program is research-based under supervision by our academic staff. PhD students can still attend subjects that they are interested. Our program enhances students’ research capacity and experience in community medicine and family medicine. Students can choose if they prefer community medicine (a study about health and disease in a community) or family medicine (a study about health of patients and their family in a primary care setting).
โอกาสในการทำวิจัย
หลักสูตรอยู่ภายใต้การดูแลของสถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว ซึ่งประกอบไปด้วยคณาจารย์ ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ คณาจารย์ในสถานฯ มีศักยภาพในการทำงานวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ และมีเครือข่ายการทำงานกับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ศูนย์การแพทย์ปฐมภูมิและแพทย์แผนไทยประยุกต์และชุมชนที่ตั้งอยู่บริเวณศูนย์ฯ ผู้เรียนสามารถเลือกทำวิจัยในเครือข่ายองค์กรของเราหรือเลือกทำวิจัยในบริบทที่เหมาะสมกับผู้วิจัย
Research opportunity
Our program is administered by Department of Community Medicine and Family Medicine. Our academic staffs have lots of experience in both quantitative and qualitative research. The department has strong relationship with Thammasat University Hospital (tertiary care hospital) and Kukot primary care unit (PCU). The PCU is located in a semi-urban area closed to our department. Students can conduct research in their geographical areas or with our academic partners.
สาขาความเชี่ยวชาญ
อาชีวเวชศาสตร์ | อาชีวอนามัย |
พฤติกรรมสุขภาพ | ความรอบรู้ทางสุขภาพ |
ระบบบริการปฐมภูมิ | เวชศาสตร์ครอบครัว |
การสร้างเสริมสุขภาพในระดับชุมชน | วิทยาการระบาด |
พฤฒาวิทยา | ระบบข้อมูลสุขภาพ |
การใช้ยาในผู้สูงอายุ | การจัดการเรียนรู้สุขศึกษา |
Area of interests
Occupational medicine | Occupational health |
Health behaviours | Health literacy |
Primary care research | Family medicine |
Health promotion | Epidemiology |
Gerontology | Health informatics |
Medications in the elderly | Learning Management in Health Education |
ความก้าวหน้าทางอาชีพ
ผู้ที่จบการศึกษาสามารถทำงานต่อในอาชีพหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น อาจารย์ในสถาบันศึกษาระดับต่าง ๆ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิจัยและนักพัฒนาชุมชน เป็นต้น
Career Path
Students, after graduation, can work in such related areas as academic staff, primary care, public health and community development.
เปิดรับสมัคร
ระหว่างมกราคม – มีนาคมของทุกปี
*ผู้ที่สนใจควรติดต่อกับคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญหรือมีความสนใจในด้านนั้นๆก่อน เพื่อเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่เหมาะสมก่อนสมัครสอบ
Application dates
To be announced
Application: | About the program |
Prerequisites | Academic calendar |
Current students |
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 ข้อ 22 และมีคุณสมบัติ ดังนี้
คุณวุฒิ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ สังคมศาสตร์การแพทย์ สุขศึกษา หรือสาขาที่เทียบเท่าทั้งในหรือต่างประเทศจากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้นรับรองวิทยฐานะ ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 หรือคณะกรรมการสอบคัดเลือกโดยความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการหลักสูตร พิจารณาให้สมัครได้ หรือ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 6 ปี) ด้านแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ หรือสัตวแพทยศาสตร์ ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.50
Prerequisites:
Applicants must
- Graduate a master degree in health sciences, biological sciences, medical sociology, health education or relevant disciplines in either Thailand or other countries. GPA is 3.25 or more.
Or
- Graduate Doctor of Medicine, Doctor of Dental Surgery, Bachelor of Pharmacy or Doctor of Veterinary Medicine (a 6-year program) in either Thailand or other countries with 3.50 or more GPA.
งานวิจัย
ผลงานตีพิมพ์ที่ได้รับการตีพิมพ์ไม่เกิน 5 ปีหรือรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่รายงานเสร็จสิ้นไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันรับสมัคร ดังต่อไปนี้
- ผลงานตีพิมพ์ 2 ชิ้นในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ หรือ
- ผลงานตีพิมพ์ 1 ชิ้นในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ และรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ 1 ฉบับที่ได้คะแนนการประเมินมากกว่าร้อยละ 80 จากคณะกรรมการซึ่งเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร ทั้งนี้ผลงานตีพิมพ์ต้องไม่เป็นส่วนหนึ่งของรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ หรือ
- รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ 2 ฉบับที่ได้คะแนนการประเมินมากกว่าร้อยละ 80 จากคณะกรรมการซึ่งเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร
Research experiences
- Applicants must submit publications or full research report published or reported, respectively, less than 5 years from an application date. The full research reports must be scored more than 80% by our committee to be accepted for application. The publications or reports must comply with one of the following:
- 2 national or international publications, or
- 1 national or international publication and 1 full research report, or
- 2 full research reports
ประสบการณ์ในการทำงาน
- มีประสบการณ์การทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์ชุมชนหรือเวชศาสตร์ครอบครัวอย่างน้อย 12 เดือนนับแต่วันจบการศึกษาระดับปริญญาตรี
Work experiences
Applicants must work in an area related to community medicine or family medicine at least 12 months after graduation.
หนังสือรับรอง
- ต้องมีหนังสือรับรองด้านวิชาการและจริยธรรม (recommendation) อย่างน้อย 2 ฉบับ
Recommendation letters
Two recommendation letters are required.
กำหนดการสอบคัดเลือกปีการศึกษา 2564
รับสมัคร รอบที่ 1 –
รอบที่ 2 –
ขั้นตอนการสมัคร
- ขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะแพทยศาสตร์ รอบ 2 ปีการศึกษา 2565 Download
- ประกาศเรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะแพทยศาสตร์ ปีการศึกษา 2565 รอบ 2 Download
- แบบฟอร์มกรอกข้อมูลผู้สมัคร หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว Download
-
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ งานบัณฑิตศึกษาโทร 02-926-9757-9E-mail: gradstudies.med@gmail.com
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์วิชาการ รอบที่ 1 –
รอบที่ 2 –
สอบสัมภาษณ์วิชาการ รอบที่ 1 –
รอบที่ 2 –
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าศึกษา รอบที่ 1 –
ประกาศรายละเอียดการขึ้นทะเบียน รอบที่ 1 –
รอบที่ 2 –
เป็นนักศึกษาใหม่ –
เปิดภาคการศึกษา –
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตร
About the program
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
- ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
- ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
Credits
- Applicants with a bachelor degree at least 72 credits
- Applicants with a master degree at least 48 credits
ระยะเวลาการศึกษา
- 3 ปี ตามหลักสูตร
Course
- 3 years
ระบบการเรียนการสอน
- เป็นระบบทวิภาค และอาจเปิดภาคฤดูร้อนได้
- เรียนในเวลา
- ผู้เรียนสามารถลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่มีความสำคัญต่อการทำวิทยานิพนธ์ได้ตามความสนใจ
- ผู้เรียนจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอความก้าวหน้าในการเรียนผ่านการสัมมนาอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง
- ผู้เรียนจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาทั่วไปคอยให้คำปรึกษาการเรียนและการปรับตัว ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 และมีชั่วโมงพบอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
- เมื่อผู้เรียนได้หัวข้อวิจัยที่ชัดเจนและผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) แล้ว ผู้เรียนจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์คอยให้คำปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์จนกว่าจะจบหลักสูตร
- ผู้เรียนสามารถเข้าพบหรือปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาได้หลายช่องทาง เช่น email โทรศัพท์ Line® และที่ภาควิชา เป็นต้น
Teaching activities
- 2 semesters per year
- Full-time
- Each new student will be appointed with one general adviser. After passing qualification examination, a student will be appointed with major adviser and co-advisers. Students and advisers meet at least once a month
- Each student can contact advisors via email, Line®, telephone or at their office.
- Seminar at least once a month
ทรัพยากรการเรียนรู้
- ผู้เรียนสามารถใช้บริการห้องสมุดในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้เรียนสามารถเข้าถึงบริการค้นคว้าเอกสารออนไลน์ผ่านฐานข้อมูลที่ห้องสมุดเป็นสมาชิกได้
- ผู้เรียนสามารถเข้าถึงบริการอินเตอร์เน็ตผ่านสัญญาณ Wi-Fi ได้ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัย
- ผู้เรียนจะมีพื้นที่ทำงานร่วมกับผู้เรียนอื่น ๆ
- สถานฯ มีห้องสมุดที่รวบรวมตำราที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัวซึ่งผู้เรียนสามารถเข้ามาค้นคว้าหาข้อมูลได้
- สถานฯ มีห้องประชุมเพื่อให้ผู้เรียนได้นำเสนอความก้าวหน้าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เรียนด้วยกัน
- ผู้เรียนสามารถปรึกษาเรื่องระเบียบวิธีวิจัยผ่านคลินิกวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ได้
- สถานฯ และงานบัณฑิตศึกษามีโครงการการฝึกทักษะที่สำคัญต่อการทำวิทยานิพนธ์อย่างสม่ำเสมอ
Resources
- University library with books, journals, theses, databases and digital documents
- Faculty library
- Department library
- Wi-Fi access for students
- Remote internet access for students
- Workstation
- Biostatistics consultation services
- Research grants from the university and the faculty
ทุนวิจัย
- คณะแพทยศาสตร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดรับสมัครทุนวิจัยทุกปี ไม่เกิน 40,000 บาท (อาจปรับเปลี่ยนในอนาคต)
- นักศึกษาสามารถขอทุนวิจัยจากภายนอกร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา
ค่าเทอม (บาท)*
|
ค่าเทอม | ตลอดหลักสูตร (3 ปี) |
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี |
29,800 |
178,800 |
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท | 23,800 |
142,800 |
*ไม่รวมค่าทำวิทยานิพนธ์
Tuition fee (THB)
Tuition fee | |
Applicants with a bachelor degree | 29,800 |
Applicants with a master degree | 23,800 |
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
- ค่าสอบวัดคุณสมบัติ (ต่อครั้ง) 500 บาท
- ค่าสอบภาษาอังกฤษ ขึ้นอยู่กับสถาบันที่จัดสอบ
Additional fees
- Qualification examination 500 THB
นักศึกษาปัจจุบัน/Current students >>link
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
สถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทร. 02-926-9802 หรือ 02-926-9809