ความรู้ทางกายวิภาคที่จำเป็น
ในการเจาะคอ
 
Anatomy
	หลอดลม(trachea)  วางตัวอยู่ในแนวmidline ของคอ  โดยอยู่ต่ำกว่าcricoid cartilage  ทางด้านบนที่ระดับ C6 ลงมายังsternal notch แล้วอยู่หลังต่อsternum และสิ้นสุดที่tracheal bifurcation ที่ระดับ sternal angle (T5)(4)    ประกอบด้วยกระดูกอ่อน(cartilage) tracheal ring รูป C-shape ไม่ครบวงทางด้านหลัง  เรียงต่อกันโดยมีfibrous tissue กั้นระหว่างกระดูกอ่อนแต่ละชิ้น  ทางด้านหลังของหลอดลมมีtrachealis muscle เชื่อมระหว่างกระดูกอ่อนรูป C-shape  ทำให้หลอดลมมีลักษณะครบวง  ภายในหลอดลมบุด้วย respiratory ciliated epithelium ส่วนภายนอกถูกห่อหุ้มด้วย pre-tracheal fascia  ขนาดของหลอดลมในผู้ใหญ่ยาวประมาณ12เซนติเมตร  และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15-20 มิลลิเมตร  ซึ่งขนาดจะเล็กลงในผู้หญิงและเด็ก  ความยาวของหลอดลมในบริเวณคอ(cervical length) สามารถเพิ่มได้โดยการแหงนศีรษะและคอ
	บริเวณtracheal ring  ที่ 2-4 มีthyroid isthmusอยู่ทางด้านหน้า จากนั้นมี strap muscles,deep and superficial fascia, anterior jugular vein, platysma muscle,subcutaneous tissue และ ผิวหนังอยู่บนสุด เรียงตามลำดับ    ทางด้านข้างของหลอดลมมี Recurrent laryngeal nerve (RLN)อยู่ในtracheoesophageal groove, common carotid artery และ internal jugular vein  ทางด้านข้าง    ส่วนทางด้านหลังของหลอดลมมี หลอดอาหาร(esophagus), prevertebral fascia และกระดูกสันหลัง   ทางด้านล่างมีbracheocephalic veinวิ่งผ่านหลอดลมทางด้านหน้าในแนวเฉียง โดยมีinominate artery วิ่งผ่านด้วย ซึ่งต้องระวังในกรณีที่ dissect ลงด้านล่างมากๆ นอกจากนี้ยังต้องระวังpleura ของปอดด้วย