Complications of Tracheostomy
 
            ภาวะแทรกซ้อนจากการเจาะคอพบได้ร้อยละ 5-40 โดยสาเหตุการตายจากการเจาะคอที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากภาวะเลือดออก และ ท่อเจาะคออุดตัน นอกจากนี้ยังพบว่าการเจาะคอในภาวะเร่งด่วน ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าปกติถึง 2-5 เท่า(2)
	ภาวะแทรกซ้อนจากการเจาะคอที่พบมากที่สุดคือภาวะเลือดออก (3.7%) รองลงมาได้แก่ภาวะท่อเจาะคออุดตัน(2.7%) และท่อเจาะคอเลื่อนหลุด(1.5%) ส่วนภาวะpneumothorax,tracheal stenosis และ tracheoinominate fistula นั้นพบน้อยกว่า 1%(2)
	โดยทั่วไป ภาวะแทรกซ้อนจากการเจาะคอสามารถแบ่งได้เป็น 3 หัวข้อ โดยอาศัยระยะเวลาที่เกิดภาวะแทรกซ้อนดังนี้ (6) คือ
1.Intraoperative complications
2.Early postoperative complications
3.Late postoperative complications

Intraoperative complications

การใส่ท่อเจาะคอไม่เข้าหลอดลม(False passage)
	ขณะทำการเจาะคอ เมื่อใส่ท่อเจาะคอแล้ว  หากไม่สามารถช่วยหายใจโดยดัน ลมเข้าปอด (ventilate) ได้ ต้องนึกถึงการใส่ท่อเจาะคอไม่เข้าหลอดลมเสมอ ซึ่งสามารถทดสอบโดยใส่สายยางสำหรับดูดเสมหะผ่านท่อเจาะคอ  ถ้าใส่แล้วติด ต้องรีบประเมินตำแหน่งท่อเจาะคอโดยด่วน และจัดตำแหน่งให้ถูกต้อง    โดยการใส่ท่อเจาะคอผิดตำแหน่ง อาจเป็นจากใส่ท่อเจาะคอ เข้าเนื้อเยื่อ(soft tissue)ทางด้านหน้าของหลอดลม หรือ ใส่แล้วทะลุผนังด้านหลังของหลอดลม ทำให้เกิดภยันตรายต่อหลอดอาหารได้  นอกจากนี้ การใส่ท่อเจาะคอไม่เข้า ยังสามารถทำให้เกิด progressive subcutaneous emphysema ซึ่งต้องแยกกับภาวะpneumothorax ด้วย โดยส่งภาพถ่ายรังสีปอดเพื่อยืนยันการวินิจฉัย  นอกจากนี้ในกรณีที่ไม่เร่งด่วน การส่งภาพถ่ายรังสีทางด้านข้างบริเวณคอ(lateral neck film)สามารถช่วยยืนยันตำแหน่งของท่อเจาะคอได้ 

ภาวะเลือดออกจากการผ่าตัด(Hemorrhage)
	ภาวะเลือดออกมากจากการผ่าตัด มักเกิดจากการฉีกขาดของ anterior jugular vein ,thyroid gland  หรือcarotid artery ซึ่งพบได้น้อยกว่า  ภาวะเลือดออกมากสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการidentify midline structure ขณะทำผ่าตัด  ในกรณีที่เป็นการเจาะคอแบบเร่งด่วนที่ผู้ป่วยมีปัญหาทางเดินหายใจอุดกั้น(emergency tracheostomy) อาจจำเป็นต้องรีบใส่ท่อเจาะคอเพื่อช่วยหายใจ ให้ได้แล้วจึงทำการห้ามเลือด

การเกิดภยันตรายต่อ Recurrent Laryngeal Nerve 
	โดยทั่วไป โอกาสเกิดภยันตรายต่อRecurrent laryngeal nerve นั้น พบได้น้อย  เนื่องจาก Recurrent laryngeal nerve จะวางตัวอยู่ทางด้านข้างระหว่างหลอดลมและหลอดอาหาร(tracheoesophageal groove) แต่อาจเกิดขึ้นได้ถ้าหากผ่าตัดในบริเวณด้านข้างของหลอดลม และมีโอกาสพบมากขึ้นจากการเจาะคอแบบเร่งด่วน(emergency tracheostomy)(1)  

Intraoperative Fire
	เกิดจากการใช้จี้ไฟฟ้า(electrocautery) ใกล้กับendotracheal tube ซึ่งทำจากยางหรือพลาสติก  และการให้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง ทำให้เกิดการติดไฟไหม้ในหลอดลมได้  สามารถป้องกันภาวะนี้ได้โดยหลีกเลี่ยงการใช้จี้ไฟฟ้าตัดในบริเวณใกล้กับ endotracheal tube และออกซิเจนความเข้มข้นสูง

Early postoperative complications

Hemorrhage
	มักเกิดจากการห้ามเลือดไม่ดีพอ หรือ ไหมที่ผูก vein หลุด  ถ้าเลือดออกไม่มาก อาจใช้ vasaline gauze pack รอบๆแผลเจาะคอได้  แต่ถ้าเลือดออกมาก อาจจำเป็นต้องนำผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัดเพื่อหาตำแหน่งเลือดออกและทำการห้ามเลือด  นอกจากนี้ ภาวะเลือดออกยังอาจเกิดจากcoagulopathy หรือ platelet dysfunction ได้อีกด้วย  โดยควรตรวจcoagulogram เพิ่มเติมในรายที่สงสัย เช่นมีภาวะตับทำงานผิดปกติ หรือมีการติดเชื้อในกระแสเลือด นอกจากนี้ภาวะไตวายและมีประวัติได้รับ antiplatelet drugs ก็สามารถทำให้เกิด platelet dysfunction ได้  ซึ่งการเตรียมผู้ป่วยอย่างระมัดระวังก่อนการผ่าตัด เช่นงด antiplatelet drugs ก่อนการเจาะคอประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัดจะสามารถช่วยป้องกันภาวะเลือดออกได้

Infection
	แผลผ่าตัดติดเชื้อมักเกิดจากการปนเปื้อนของนำ้ลายที่บริเวณแผล การติดเชื้อร่วมกับการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อสามารถทำให้เกิดsubglottic stenosisได้  ดังนั้นการทำความสะอาดแผลเจาะคอด้วยprovidone-iodine(Betadine) หรือ  0.25%acetic acid ร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะครอบคลุมเชื้อ staphylococci และ gram-negative rods จึงเป็นสิ่งจำเป็น(6)  บางครั้งอาจเกิดtracheobronchitis ได้จากการบาดเจ็บของเยื่อบุหลอดลมร่วมกับการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการให้อากาศชื้น(humidification),การดูดเสมหะอย่างนุ่มนวล และการให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ  สำหรับการติดเชื้อของปอด เช่น pneumonia หรือ lung abscess นั้นพบได้น้อย เชื้อก่อโรคจากการเจาะคอที่พบบ่อยได้แก่ Staphyolcoccus aureus,Pseudomonas,และ mixed flora อื่นๆ(6)

Subcutaneous emphysema, Pneumomediastinum, และ
Pneumothorax
	Subcutaneous emphysema อาจเกิดจากการdissect เนื้อเยื่อในขณะเจาะคอมากเกินไป ท่อเจาะคอตันหรือขนาดเล็กเกินไป หรือ การช่วยหายใจโดยใช้แรงดันลมมากเกินไปจนทำให้ลมรั่วจากรูเจาะคอบนหลอดลม เซาะไปตามpretracheal fascia นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการเย็บแผลเจาะคอแน่นเกินไปทำให้ลมตั่งอยู่ใต้ผิวหนัง เมื่อคลำบริเวณคอจะพบเสียงกรองแกรบใต้ผิวหนัง ภาวะนี้แก้ไขได้โดยตัดไหมที่เย็บแผลออก ร่วมกับเปลี่ยนท่อเจาะคอให้มีขนาดเหมาะสม ที่สำคัญคือต้องระวังการเลื่อนหลุดของท่อเจาะคอ และ ภาวะ pneumothorax ซึ่งควรรีบตรวจดูตำแหน่งของท่อเจาะคอให้เหมาะสมและส่งภาพถ่ายรังสีปอดเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
	ภาวะ Pneumothorax เกิดจากการฉีกขาดของเยื่อหุ้มปอดจากการเจาะคอเองโดยตรง หรือ การช่วยหายใจโดยใช้แรงดันมากเกินไป(positive pressure) แต่บางครั้งก็ไม่สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจน มีการศึกษาพบภาวะpneumothorax จากการเจาะคอในเด็กได้ถึงร้อยละ10 ทั้งนเี้่นื่องจากในเด็กตำแหน่งของยอดเยื่อหุ้มปอดอยู่สูงกว่าผู้ใหญ่(6)  การวินิจฉัย จะสังเกตเห็นได้ว่าผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยหอบมากขึ้นหลังการเจาะคอ การขยายตัวของปอดทั้ง2ข้างขณะหายใจเข้าไม่เท่ากัน เมื่อฟังเสียงปอดพบbreath sound ลดลง  เคาะปอดได้เสียงโปร่ง ถ้ามีอาการน่าสงสัยควรส่งภาพถ่ายรังสีปอดเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ถ้ามีอาการหอบเหนื่อยมากหรือปริมาณลมในเยื่อหุ้มปอดมากควรทำการใส่ท่อระบายลมจากเยื่อหุ้มปอดโดยต่อลงขวดใส่นำ้
	ภาวะpneumomediastinum เกิดจากการที่หายใจแรงทำให้อากาศออกมาอยู่รอบท่อเจาะคอ ร่วมกับการตัดpretracheal fasciaมากเกินไป ทำให้ลมเซาะในเนื่อเยื่อชั้นลึกของคอเข้าmediastinum อาจตรวจพบHamman’s sign ซึ่งเป็นเสียงกรอบแกรบ(cracking sound)ที่ได้ยินสัมพันธ์กับเสียงเต้นของหัวใจ  ภาวะpneumomediastinum สามารถหายได้เอง แต่ถ้าเป็นมากๆอาจทำให้เยื่อหุ้มปอดฉีกขาก เกิดภาวะpneumothoraxได้

ภาวะนำ้ท่วมปอด(Postoperative pulmonary edema)
	ภาวะนำ้ท่วมปอด เกิดจากการเจาะคอเพื่อแก้ไขภาวะทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้น(upper airway obstruction) โดยมักพบบ่อยในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่  โดยกลไกการเกิดภาวะนี้เกิดจากภาวะทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้น  ทำให้ความดันในปอดขณะหายใจเข้าและออกสูงขึ้น โดยขณะหายใจเข้า ความดันในปอดและถุงลม(pleural and alveolar pressure)จะเป็นลบ ทำให้มีveonus returnเพิ่มขึ้น ซึ่งในขณะหายใจออก มีความดันในปอดและถุงลมเป็นบวก ช่วยต้านไม่ให้นำ้จากในเส้นเลือดเข้ามาในถุงลม(alveoli) แต่ภายหลังได้รับการเจาะคอ ซึ่งเป็นการแก้ไขภาวะทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นอย่างฉับพลัน จะทำให้ความดันในปอดขณะหายใจเข้าและออกลดลง ส่งผลให้ในขณะหายใจเข้ามี systemic venous return เพิ่มขึ้น ในขณะที่ความดันปอดในขณะหายใจออกลดลง ทำให้มีการเพิ่มของhydrostatic pressure นำ้จากในเส้นเลือดไหลเข้ามาในถุงลมจนทำให้เกิดภาวะนำ้ท่วมปอด(pulmonary edema) ขึ้น (6) สามารถวินิจฉัยได้โดยผู้ป่วยมีอาการหอบเหนื่อยเพิ่มขึ้น และดูดเสมหะได้pink frothy sputum
        การรักษาประกอบด้วยการช่วยหายใจโดยให้positive end-expiratory pressure(PEEP) ให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ และการควบคุมปริมาณสารนำ้ในเส้นเลือดอย่างเหมาะสม และการให้inotropic drugs โดยปรับตามcentral venous pressure และ การทำงานของหัวใจ  
	ภาวะนำ้ท่วมปอดนี้ แม้จะพบได้ไม่บ่อยและไม่ไช่ภาวะแทรกซ้อนจากการเจาะคอเองโดยตรง แต่การเฝ้าระวัง การรีบวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที จะช่วยให้ผู้ป่วยรอดพ้นจากภาวะนี้ได้

ภาวะท่อเจาะคออุดตัน(Tube obstruction)
	ภาวะท่อเจาะคออุดตันภายใน24ชั่วโมงแรกมีสาเหตุจากลิ่มเลือดอุดตัน ท่อเจาะคอเลื่อนตำแหน่ง หรือ ปลายท่อเจาะคอชนกับผนังด้านหลังของหลอดลม เมื่อผ่านการเจาะคอไประยะหนึ่ง ภาวะท่อเจาะคออุดตันมักเกิดจากเสมหะอุดตันหรือgranulation tissue ภาวะนี้พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ การเฝ้าระวัง การให้อากาศชื้น การดูแลทำความสะอาดท่อเจาะคอโดยล้างinner tube รวมถึงการดูดเสมหะ จึงเป็นสิ่งจำเป็น(1)  

ภาวะท่อเจาะคอเลื่อนหลุด(Dislodgment of Tube)
	ภาวะนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความยาวท่อเจาะคอไม่เหมาะสม ความหนาของคอ ตำแหน่งท่ีเจาะคอ การบวมของเนื้อเยื่อบริเวณคอ และวิธีการยึดท่อเจาะคอให้อยู่กับที่  พบว่า ภาวะท่อเจาะคอเลื่อนหลุด เป็นภาวะแทรกซ้อนในช่วงแรกที่พบบ่อยที่สุดในเด็กซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
	ภาวะนี้สามารถป้องกันได้โดยเลือกเจาะคอที่tracheal ring 2-4 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ห่างจาก subglottis และไม่อยู่ตำ่จนเกินไป ซึ่งจะเลื่อนลงตำ่ได้เมื่อผู้ป่วยเปลี่ยนจากท่านอนแอ่นคอเป็นนอนราบภายหลังการเจาะคอ  นอกจากนี้ การยึดท่อเจาะคอให้อยู่กับที่ก็เป็นสิ่งจำเป็น โดยให้ผูกเชือก(cord tape)รอบคอเพื่อยึดท่อเจาะคอให้ติดกับคอในท่านอนราบโดยให้สามารถใส่นิ้วระหว่างเชือกกับคอได้1นิ้ว ดังได้กล่าวแล้ว ในเด็ก หรือ ผู้ป่วยที่มีโอกาสที่ท่อเจาะคอจะเลื่อนหลุดได้สูง แนะนำให้เย็บปีกของท่อเจาะคอติดกับผิวหนัง  นอกจากนี้ การเย็บ stay suture บริเวณรูเจาะคอที่หลอดลม ก็สามารถช่วยให้สามารถใส่ท่อเจาะคอกลับคืนได้ง่ายขึ้น หากมีการเลื่อนหลุดของท่อเจาะคอ
	ในผู้ป่วยมี่คอหนามากๆ เช่น ผู้ป่วยอ้วน หรือ ผู้ป่วยที่ถูกไฟไหม้ ควรเลือกใช้ท่อเจาะคอที่มีความยาวเป็นพิเศษ ซึ่งสามารถปรับความยาวท่อได้โดยปรับที่ปีกของท่อเจาะคอ(adjustable flange)(6)

ภาวะหยุดหายใจหลังการเจาะคอ(Posttracheostomy apnea)
	ภาวะนี้มักพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะObstructive sleep apnea เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีภาวะออกซิเจนตำ่(hypoxia)ซึ่งจะกระตุ้นศูนย์ควบคุมการหายใจ ทำให้มีการหายใจ  แต่เมื่อได้รับการเจาะคอ ซึ่งเป็นการแก้ไขภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นโดยฉับพลัน ร่วมกับการได้ออกซิเจนและยานอนหลับ จึงทำให้ศูนย์ควบคุมการหายใจลดลงจนทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะคอซึ่งมีภาวะObstructive sleep apnea อยู่เดิม ควรได้รับการดูแลในหอผู้ป่วยหนักเพื่อเฝ้าระวังภาวะหยุดหายใจ และ ควรหลีกเลี่ยงการให้ยานอนหลับซึ่งจะทำให้ภาวะหยุดหายใจเป็นมากขึ้น

Late postoperative complications

ภาวะเลือดออก(Hemorrhage)
	ภาวะเลือดออกจากท่อเจาะคอ อาจเกิดจากgranulation tissue ซึ่งมีอันตรายไม่มากนัก หรืออาจเกิดจากinominate artery erosion ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิตก็ได้  ดังนั้น การรีบหาสาเหตุที่ทำให้เลืดออกจึงเป็นสิ่งจำเป็น  สาเหตุที่ทำให้เกิด inominate artery erosion(tracheal-inominate artery fistula) เกิดจากการใส่ท่อเจาะคอมานาน การใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมกับการที่cuff  ของท่อเจาะกดบนผนังด้านหน้าของหลอดลม ทำให้เกิดการตายของกระดูกอ่อนของผนังด้านหน้าของหลอดลม  นอกจากนี้ การที่ปลายของท่อเจาะคอทิ่มผนังหลอดลมด้านหน้า การที่inominate artery อยู่สูงกว่าปกติ หรือ การเจาะคอในตำแหน่งตำ่เกินไป การติดเชื้อที่ กระดูกอ่อนของผนังด้านหน้าของหลอดลม
ก็ทำให้เกิดinominate artery erosion ได้เช่นกัน
	ภาวะinominate artery erosionนี้ มีรายงานพบได้ตั้งแต่ร้อยละ 0.4-4.5 โดยอาการแรกที่พบ คือ มีเลือดออกปริมาณเล็กน้อย(sentinel bleeding) ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจดูบริเวณผนังหลอดลมด้านหน้าทันทีด้วยflexible endoscopy ถ้าหากพบว่ามีerosion หรือ necrosis ของผนังด้านหน้าของหลอดลม ต้องรีบนำผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัด ดมยาสลบโดยเตรียมพร้อมที่จะผ่าตัดเปิดทรวงอก(Thoracotomy)ร่วมกับศัลยแพทย์ทรวงอก จากนั้นประเมินบริเวณที่มีnecrosis  โดยใส่ endotracheal tube ผ่านรูเจาะคอให้เลยตำแหน่งที่มีnecrosis แล้วสำรวจและทำการซ่อมแซมเส้นเลือดและผนังหลอดลมทางด้านหน้าโดยใช้ interpositioned muscle flap มากั้นระหว่างหลอดลมกับinominate artery(6)
	ในกรณีที่มีเลือดออกมาก ให้ใช้นิ้วกดที่ด้านหน้าของหลอดลมบริเวณรูเจาะคอซึ่งจะตรงกับตำแหน่งของผนังด้านหลังของinominate artery เพื่อห้ามเลือด พร้อมกับใส่endotracheal tube ผ่านรูเจาะคอให้เลยตำแหน่งที่มีเลือดออกแล้วinflate balloon เพื่อกันเลือดไม่ไห้ลงปอด  ร่วมกับแก้ไขภาวะการเสียเลือดและช่วยหายใจ แล้วนำผู้ป่วยไปห้องผ่าตัดเพื่อเปิดทรวงอกแล้วทำห้ามเลือดและซ่อมแซมเส้นเลือด รวมทั้งใช้ interpositioned muscle flap เพื่อซ่อมแซมผนังด้านหน้าของหลอดลม ทั้งนี้ พบอัตราตายจากinominate artery erosion ได้ถึง 85-90% (2)

ภาวะกล่องเสียงหรือหลอดลมตีบ(Subglottic or Tracheal Stenosis)
	ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะนี้ได้แก่ผู้ป่วยที่ใส่ endotracheal tube มาก่อน การเจาะคอในตำแหน่งสูงชิดกับcricoid ring (high tracheostomy) และ cricothyroidotomy จนเกิด subglottic stenosis หรือมีการกดทับเยื่อบุของหลอดลมจนเกิดnecrosis และมีtracheal stenosis ตามมา โดยตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ ตำแหน่งที่ตรงกับบอลลูนของท่อเจาะคอ รองลงมาได้แก่ตำแหน่งstoma และปลายท่อเจาะคอ สามารถป้องกันภาวะนี้ได้โดยหลีกเลี่ยงการเจาะคอในตำแหน่งที่ชิดกับcricoid ring  สำหรับการทำcricothyroidotomyนั้น เมื่อสามารถช่วยหายใจได้แล้ว ควรทำการเจาะคอและเปลี่ยนมาใส่ท่อผ่านรูเจาะคอแทน  นอกจากนี้การเลือกท่อเจาะคอให้มีขนาดที่เหมาะสม และมี high-volume, low-pressure cuff	จะช่วยลดการเกิด tracheal stenosis ได้

การเกิดรูทะลุระหว่างหลอดลมกับหลอดอาหาร(Tracheoesophageal fistula)
	ภาวะนี้พบได้น้อย มีอุบัติการณ์ 0.01-1%(1) โดยเกิดจากการฉีกขาดของ posterior tracheal wall ในขณะผ่าตัด หรือ เกิดจากการใส่ท่อเจาะคอแล้ว inflate balloon มากเกินไป ร่วมกับการใส่ NG tube ทำให้มีการกดทับที่ผนังด้านหลังของหลอดลม  
	ประวัติที่ทำให้คิดถึงภาวะนี้ได้แก่ ผู้ป่วยมีประวัติไอขณะรับประทานอาหาร ไอเรื้อรังขณะกลืนนำ้ลาย มีการสำลักเป็นประจำ และภาวะปอดติดเชื้อ การยืนยันการวินิจฉัยทำได้โดยส่ง Barium swallow หรือให้กลืน Methylene blue แล้วส่องกล้อง fiberoptic scope จะเห็นสีMethylene blue รั่วทางหลอดลม (1)
	เมื่อวินิจฉัยได้แล้ว ให้การรักษาเบ้ืองต้นโดยใส่ท่อที่มีลูกโป่งโดยให้ตำแหน่งลูกโป่งอยู่ตำ่กว่ารูทะลุ เพื่อกันไม่ให้มีการสำลักลงปอด  เมื่อสภาพร่างกายผู้ป่วยพร้อมแล้ว จึงทำการผ่าตัดซ่อมแซมปิดรูทะลุในภายหลัง

ภาวะกลืนลำบาก(Dysphagia)
	เกิดจากการที่ลูกโป่งของท่อเจาะคอกดเบียดหลอดอาหารทางด้านหลัง นอกจากนี้ยังเกิดจากการยกตัวของกล่องเสียงขณะกลืนถูกขัดขวางจากการที่ท่อเจาะคอยึดหลอดลมไว้ไม่ให้ขยับได้ตามปกติ
แผลเจาะคอไม่ปิดเองหลังจากถอดท่อเจาะคอแล้ว

(Tracheocutaneous fistula)
	ในผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะคอมานาน อาจมีepithelialization ที่บริเวณรูเจาะคอ ทำให้รูเจาะคอไม่สามารถปิดเองหลังจากถอดท่อเจาะคอออกแล้ว ซึ่งสามารถผ่าตัดแก้ไขโดย excision fistula tract แล้วเย็บปิดรูเจาะคอ  นอกจากนี้การที่รูเจาะคอไม่ปิดเอง อาจมีสาเหตุมาจากการที่ยังมีการอุดตันของทางเดินหายใจเหนือรูเจาะคอ  ดังนั้นก่อนทำการปิดรูเจาะคอ จึงควรประเมินการอุดตันของทางเดินหายใจก่อนเสมอ