พระพุทธเวชศาสดา

ความเป็นมา

วันครบรอบ ๓๐ ปีแห่งการสถาปนาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตรงกับวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๓ มีการจัดกิจกรรมและงานเฉลิมฉลอง ในโอกาสนี้มีการจัดสร้างพระพุทธรูปประจำคณะแพทยศาสตร์ เพื่อเป็นที่สักการะบูชาอันนำมาซึ่งอนุสสติระลึกถึงพระรัตนตรัย และเป็นเครื่องบำรุงศรัทธา ปสาทะของบุคลากร นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์และพุทธศาสนิกชนทั่วไป

พระพุทธรูปที่จัดสร้างมีต้นแบบมาจาก “พระพุทธธรรมทิฐิศาสดา” ซึ่งเป็นพระปฏิมาประธานประจำหอพระของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ได้รับการถวายพระนามจากสมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ว่า “พระพุทธเวชศาสดา” มีความหมายว่า พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นครูของหมอ จัดสร้างจำนวน ๒ องค์ โดยนำมาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ๑ องค์ และนำมาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประจำศูนย์แพทย์ปฐมภูมิและแพทย์แผนไทยประยุกต์ ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี อีก ๑ องค์ พร้อมนี้คณะแพทยศาสตร์ได้จัดสร้างพระพุทธรูปบูชา “พระพุทธเวชศาสดา” พระกริ่งและเหรียญ เพื่อมอบให้เป็นที่ระลึกสักการะบูชาแก่ผู้มีอุปการะคุณ ศิษย์เก่า คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ และบุคคลทั่วไป  ในการดำเนินการดังกล่าวคณะแพทยศาสตร์ได้รับคำแนะนำและความช่วยเหลือจาก ศาสตราจารย์ ดร.สหธน  รัตนไพจิตร ทำให้การดำเนินการต่างๆสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อความเป็นสิริมงคลในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ ๓๐ ปี แห่งการสถาปนาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (๑๙ มีนาคม ๒๕๖๓)
  2. เพื่อสร้างพระพุทธรูปประจำคณะแพทยศาสตร์ อันนำมาซึ่งอนุสสติระลึกถึงพระรัตนตรัย และเป็นเครื่องบำรุงศรัทธา ปสาทะของบุคลากร นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์และพุทธศาสนิกชนทั่วไป
  3. เพื่อมอบให้เป็นที่ระลึกสักการะบูชาแก่ผู้มีอุปการะคุณ ศิษย์เก่า คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ และบุคคลทั่วไป
  4. รายรับอันพึงมีถ้ามากกว่าการดำเนินการสร้างพระในครั้งนี้จะนำเข้าสมทบกองทุนเพื่อคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

พิธีเททอง

คณะแพทยศาสตร์ ได้กำหนดจัดงานพิธีเททองหล่อพระพุทธเวชศาสดา ในวันศุกร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์  ๒๕๖๓ ณ ลานจอดรถสนามเอเชียนเกมส์ปาร์ค (ตรงข้ามอาคารคุณากร คณะแพทยศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต พิธีเริ่มตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๙ น. คณะโหรพราหมณ์ปุณยบารมีเริ่มประกอบพิธีกรรมบวงสรวง โดยมีพระครูปทุมธรรมาภิรักษ์ (ชมพู) ประธานฝ่ายสงฆ์จุดเทียนชัยในขันสาคร และรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดิลก  ภิยโยทัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ประธานฝ่ายฆราวาส จุดธูปเทียน คณะโหรพราหมณ์ทำการอ่านองค์การอัญเชิญและบูชาเทพ ประธานฝ่ายสงฆ์ ประธานฝ่ายฆราวาส ทีมผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ จุดธูปถวายเครื่องสักการะบวงสรวง สะบัดน้ำมนต์และโปรยดอกไม้บนโต๊ะบวงสรวง จนถึงเวลา ๑๐.๑๐ น. เริ่มประกอบพิธีทางศาสนาพุทธ โดยประธานฝ่ายฆราวาส จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย เจ้าหน้าที่อาราธนาศีล คณะสงฆ์จากวัดโพธิ์นิ่มรัตตารามให้ศีล  เวลา ๑๐.๓๐ น.ประธานฝ่ายฆราวาสและทีมผู้บริหารฯ หย่อนแผ่นทองเหลืองลงในเบ้า ถือสายสูตรเททองหล่อพระพุทธเวชศาสดา (พระสงฆ์ ๙ รูปเจริญชัยมงคลคาถา เจ้าหน้าที่ลั่นฆ้องชัย ประโคมสังข์แตร) ทีมผู้บริหารฯถวายภัตาหารเพล ปัจจัยไทยธรรมและเครื่องสังฆทานแด่พระสงฆ์ เสร็จพิธี

พิธีพุทธาภิเษก

คณะแพทยศาสตร์ได้กำหนดจัดงานพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปบูชา “พระพุทธเวชศาสดา” พระกริ่งและเหรียญ ในวันอังคารที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๓ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พิธีเริ่มตั้งแต่เวลา ๑๔.๐๐ น. จนถึงเวลา ๑๖.๐๙ น. โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ.๙) ประธานฝ่ายสงฆ์ และรองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประธานฝ่ายคฤหัสถ์

รายนามพระสงฆ์ที่ร่วมพิธีพุทธาภิเษก

เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต                                               ประธานในพิธี (ทรงจุดเทียนชัย)

พระสงฆ์ เจริญพระพุทธมนต์

  1. พระเทพวิสุทธิกวี (ถาวรร อธิวโร)                                        วัดบวรนิเวศวิหาร
  2. พระมงคลสุทธิวงศ์ (นันทวัฒน์ ชยวฑฺฒโน)                          วัดบวรนิเวศวิหาร
  3. พระครูปลัดสัมพิพัฒนสุดาจารย์ (สมชาย)                             วัดบวรนิเวศวิหาร
  4. พระครูพุทธมนต์ปรีชา (วิธาน)                                              วัดบวรนิเวศวิหาร
  5. พระครูปริตรโกศล (พีรเดช)                                                 วัดบวรนิเวศวิหาร
  6. พระครูประสิทธิพุทธมนต์ (นัฐ)                                             วัดบวรนิเวศวิหาร
  7. พระครูวินัยธร สท้าน จิตฺตวโร                                               วัดบวรนิเวศวิหาร
  8. พระมหาจรัญ สุจารโณ                                                         วัดบวรนิเวศวิหาร
  9. พระมหากรุงรัตนะ ธชรตโน                                                   วัดบวรนิเวศวิหาร
  10. พระสกล ธมฺมธโร                                                                วัดบวรนิเวศวิหาร

พระสงฆ์ เจริญจิตตภาวนา

เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต  กรุณานั่งปรกแผ่เมตตาเมื่อประกอบพิธีจุดเทียนชัยเสร็จแล้ว

  • พระราชพัฒนากร (สมชาย ฉนฺทสโร)                           วัดปริวาส  (ดับเทียนชัย)
  • พระราชรัตนมงคล (มนตรี อภิมนฺติโก)                          วัดบวรนิเวศวิหาร
  • พระราชมุนี (ฉลอง ชลิตกิจฺโจ)                                    วัดบวรนิเวศวิหาร
  • พระราชพุทธิมุนี (คิวปิด ปิยโรจโน)                              วัดบวรนิเวศวิหาร

พระสงฆ์ สวดมหานาค

  • พระครูวิสุทธิธรรมภาณ วัดบวรนิเวศวิหาร
  • พระมหาพิสิฐพงศ์ ปวิสิฎฺโฐ                                              วัดบวรนิเวศวิหาร
  • พระมหาฉัตชัย สุฉตฺตชโย                                                วัดบวรนิเวศวิหาร
  • พระเอกพล จิตพโล                                                          วัดบวรนิเวศวิหาร

พระที่จัดสร้าง

๑. พระพุทธเวชศาสดา (พระพุทธรูปประจำคณะแพทยศาสตร์) เนื้อทองเหลือง ขนาดหน้าตักกว้าง ๒๕ นิ้ว จัดสร้าง ๒ องค์ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสุโขทัย เนื้อโลหะทองเหลือง ปิดทอง มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๕ นิ้ว พระเนตรแบบมุกมีลูกนัยตาเป็นนิลมองลงด้านล่าง (เหลือบต่ำ) แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย  เม็ดพระศกเป็นตุ่มแหลมแบบก้นหอย พระรัศมีคล้ายเปลวเพลิง ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา สังฆาฏิเป็นแถบสี่เหลี่ยมปลายตัดตรงยาวจรดพระนาภี พระหัตถ์แสดงปางสมาธิ พระหัตถ์ขวาวางหงายทับบนพระหัตถ์ซ้าย ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัว ฐานบัวหงายทำเป็นลายกลีบบัว ลักษณะของกลีบบัวเป็นแบบ “บัวเชียงแสน” ส่วนรองรับองค์พระทำเป็นลายเกสรดอกบัว ฐานพระมีทั้งหมด ๓ ชั้นลดหลั่นกัน มีลายกนกอยู่ที่มุมด้านล่างสุดของฐาน ตรงกลางของฐานพระระหว่างฐานชั้นบนสุดและฐานชั้นที่ ๒ จะมีผ้าทิพย์ปิดลงมาจนมิดฐานชั้นที่ ๒ ตรงกลางผ้าทิพย์มีตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้านล่างชายผ้าทิพย์มีอักษรจารึกว่า “คณะแพทยศาสตร์” ด้านหลังองค์พระ ช่วงฐานชั้นที่ ๓ มีป้ายพร้อมอักษรจารึกตอนบนว่า “พระพุทธเวชศาสดา”และอักษรจารึกตอนล่างว่า “พุทธศักราช ๒๕๖๓” ตัวองค์พระกับฐานสามารถแยกออกจากกันได้ ด้านในมีน็อตหรือสกรูยึด ๒ ตัว

๒. พระบูชาพระพุทธเวชศาสดา  เนื้อทองเหลือง  สร้างจำลองมาจากพระพุทธเวชศาสดา ขนาดหน้าตัก ๒๕ นิ้ว

– ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๒ นิ้ว (ปิดทองคำ)  จัดสร้าง ๙ องค์ หรือตามจำนวนสั่งจอง องค์พระกับฐานสามารถแยกออกจากกันได้ ที่องค์พระจารึกหมายเลขบริเวณด้านหลังส่วนล่างแถบขวาขององค์พระ ส่วนที่ฐานจารึกหมายเลขบริเวณด้านบนแถบขวาของป้ายชื่อ (จารึกหมายเลข ๑-๙)

– ขนาดหน้าตักกว้าง ๙ นิ้ว (ปิดทองคำ)  จัดสร้าง ๓๐ องค์ องค์พระกับฐานสามารถแยกออกจากกันได้  ที่องค์พระจารึกหมายเลขบริเวณด้านหลังส่วนล่างแถบซ้ายขององค์พระ ส่วนที่ฐานจารึกหมายเลขบริเวณด้านบนแถบซ้ายของป้ายชื่อ (จารึกหมายเลข ๑-๓๐)

– ขนาดหน้าตักกว้าง ๙ นิ้ว (รมดำมันปู)  จัดสร้าง ๖๙ องค์ องค์พระกับฐานสามารถแยกออกจากกันได้ ที่องค์พระจารึกหมายเลขบริเวณด้านหลังส่วนล่างแถบขวาขององค์พระ ส่วนที่ฐานจารึกหมายเลขบริเวณด้านบนแถบขวาของป้ายชื่อ (จารึกหมายเลข ๑-๖๙)

– ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ นิ้ว (รมดำมันปู)  จัดสร้าง ๓๐๐ องค์ องค์พระกับฐานไม่สามารถแยกออกจากกันได้ จารึกหมายเลขบริเวณด้านบนแถบขวาของป้ายชื่อ (จารึกหมายเลข ๑-๓๐๐)

๓. พระกริ่งพระพุทธเวชศาสดา  สร้างจำลองมาจากพระพุทธเวชศาสดา ขนาดหน้าตัก ๒๕ นิ้ว โดยมีขนาดความสูง ๓.๕ ซ.ม.

– เนื้อทองคำ  จัดสร้างตามจำนวนสั่งจอง ( ๔ องค์) ในองค์พระบรรจุเม็ดกริ่งทองคำ ส่วนใต้ฐานองค์พระปิดด้วยโค๊ดอุดกริ่งจารึกตรามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยใช้เลเซอร์ พร้อมทั้งจารึกลำดับหมายเลขขององค์พระด้วยเลขไทยโดยใช้เลเซอร์ (จารึกหมายเลข ๑ ทั้ง ๔ องค์)

– เนื้อนวโลหะ  จัดสร้าง ๕๐๐ องค์ ในองค์พระบรรจุเม็ดกริ่งทองเหลือง ส่วนใต้ฐานองค์พระปิดด้วยโค๊ดอุดกริ่งจารึกตรามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยใช้เลเซอร์ พร้อมทั้งจารึกลำดับหมายเลขขององค์พระด้วยเลขไทยโดยใช้เลเซอร์ (จารึกหมายเลข ๑-๕๐๐) ตอกโค๊ดโดมด้านหลังส่วนล่างขององค์พระ

๔. เหรียญพระพุทธเวชศาสดา  ขนาดความสูง ๔ ซ.ม. เป็นเหรียญรูปทรงไข่มีห่วงด้านบน ด้านหน้าของเหรียญมีรูปพระพุทธรูปปางสมาธิศิลปะสุโขทัย อยู่กึ่งกลางเหรียญ ด้านล่างรูปพระมีอักษรเขียน “พระพุทธเวชศาสดา” มีลายกนกอยู่ด้านล่างและด้านข้างทั้ง 2 ข้างของเหรียญ ด้านหลังของเหรียญมีรูปตึกโดมเป็นพื้นหลังอยู่ครึ่งด้านบนของเหรียญและมีตราคณะแพทยศาสตร์วางเยื้องลงมาด้านล่าง ด้านบนของเหรียญจารึกอักษร “ในวาระครบรอบ ๓๐ ปี แห่งการสถาปนาคณะแพทยศาสตร์”โค้งตามรูปเหรียญ และด้านล่างของเหรียญจารึกอักษร “๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓”โค้งตามรูปเหรียญ มีโค๊ดโดมตอกด้านหน้าเหรียญบริเวณด้านขวา ด้านซ้ายจารึกลำดับหมายเลขขององค์พระด้วยเลขไทยโดยใช้เลเซอร์

  • เนื้อเงิน  จัดสร้าง ๒๐๐ เหรียญ  (จารึกหมายเลข ๑-๒๐๐)
  • เนื้อนวโลหะ  จัดสร้าง ๑,๕๐๐ เหรียญ (จารึกหมายเลข ๑-๑,๕๐๐)
  • ทองแดง  จัดสร้าง ๓,๐๐๐ เหรียญ (จารึกหมายเลข ๑-๓,๐๐๐)
  • พระบูชาพระพุทธเวชศาสดา ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๒ นิ้ว (ปิดทองคำ)

จัดสร้าง ๙ องค์ หรือตามจำนวนสั่งจอง องค์พระกับฐานสามารถแยกออกจากกันได้ ที่องค์พระจารึกหมายเลขบริเวณด้านหลังส่วนล่างแถบขวาขององค์พระ ส่วนที่ฐานจารึกหมายเลขบริเวณด้านบนแถบขวาของป้ายชื่อ (จารึกหมายเลข ๑-๙)

พระบูชาพระพุทธเวชศาสดา ขนาดหน้าตักกว้าง ๙ นิ้ว (ปิดทองคำ)

จัดสร้าง ๓๐ องค์ องค์พระกับฐานสามารถแยกออกจากกันได้  ที่องค์พระจารึกหมายเลขบริเวณด้านหลังส่วนล่างแถบซ้ายขององค์พระ ส่วนที่ฐานจารึกหมายเลขบริเวณด้านบนแถบซ้ายของป้ายชื่อ (จารึกหมายเลข ๑-๓๐)

พระบูชาพระพุทธเวชศาสดา ขนาดหน้าตักกว้าง ๙ นิ้ว (รมดำมันปู)

  จัดสร้าง ๖๙ องค์ องค์พระกับฐานสามารถแยกออกจากกันได้ ที่องค์พระจารึกหมายเลขบริเวณด้านหลังส่วนล่างแถบขวาขององค์พระ ส่วนที่ฐานจารึกหมายเลขบริเวณด้านบนแถบขวาของป้ายชื่อ (จารึกหมายเลข ๑-๖๙)

พระบูชาพระพุทธเวชศาสดา ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ นิ้ว (รมดำมันปู)

จัดสร้าง ๓๐๐ องค์ องค์พระกับฐานไม่สามารถแยกออกจากกันได้

จารึกหมายเลขบริเวณด้านบนแถบขวาของป้ายชื่อ (จารึกหมายเลข ๑-๓๐๐)

Free WordPress Themes, Free Android Games