หน่วยรังสีรักษา

ศูนย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา

ขอบเขตการบริการ
ศูนย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
ให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยเครื่องมือทางรังสีรักษาที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงสุดและทันสมัยที่สุดในประเทศไทย ผู้ป่วยจะได้รับคำาแนะนำจาก ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง นักฟิสิกส์การแพทย์ และนักรังสีการแพทย์เป็นอย่างดี และมีการประชุมวางแผนแบบสหสาขา พร้อมทั้งสรุปแนวทางการรักษาเพื่อให้ท่านสามารถเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งทางเดินอาหาร โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ และโรคมะเร็งนรีเวช ศูนย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีเครืองมือทันสมัยเพื่อรองรับการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณการจัดตั้งและจัดซื้ออุปกรณ์จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวนเงิน 500,000,000 บาทจำนวนผู้รับบริการตั้งแต่เปิดทำการ (เดือนพฤศจิกายน 2558-
กุมภาพันธ์ 2560 โดยประมาณ)
-จำนวนผู้ป่วยที่ได้รักบการรักษาด้วยเครื่องเร่งอนุภาคพลังงานสูง(LINAC)
จำนวน 550 คน
-จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องใส่แร่สามมิติพลังงานสูง
(HDR Ir-192 Brachytherapy) จำนวน 180 คน
อุปกรณ์หรือเครื่องมือพิเศษ (Highlight)
เครื่องเร่งอนุภาคพลังงานสูง (Linear Accelerator : LINAC) จำนวน 1 เครื่องเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สำคัญในด้านรังสีรักษา โดยเป็น ผลิตภัณฑ์ของบริษัท Elekta ประเทศอังกฤษ   รุ่นVersaHD ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุด และเป็นเครื่องแรกที่ติดตั้งในประเทศไทย สามารถให้การรักษาในทุกเทคนิค ทางรังสีรักษา อาทิ 2 มิติ (2D) / 3 มิติ (3D – CRT) / เทคนิคแปรความเข้ม ของรังสี (IMRT) /เทคนิคแปรความเข้มรังสีเชิงปริมาตร (VMAT) และ เทคนิครังสีศัลยกรรม (SRS / SRT / SBRT) พร้อมด้วยเทคโนโลยีภาพนำวิถี (IGRT) เพื่อให้การรักษามีความถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น โดยสามารถ ให้การรักษาได้ทั้งลำรังสีโฟตอน 4 รูปแบบพลังงาน และลำรังสีอิเล็กตรอน 6 ระดับพลังงาน ทั้งยังประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัยไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ ตรวจสอบตำแหน่งด้วยลำแสงอินฟราเรดและอุปกรณ์ควบคุมการหายใจ ระหว่างได้รับรังสี เพื่อให้การรักษามีความถูกต้องสูงสุด
> เครื่องใส่แร่สามมิติพลังงานสูง (HDR Ir – 192 Brachytherapy)   จำนวน 1 เครื่องเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่นำแหล่งกำเนิดรังสีชนิดอิริเดียม (Ir – 192) เข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยในบริเวณของรอยโรคโดยผ่านอุปกรณ์ตัวนำ ซึ่งจะทำให้การแผ่รังสีสามารถครอบคลุมรอยโรคได้         ทั่วถึงในระยะประชิด ลดปริมาณรังสีที่จะกระจายไปยังอวัยวะที่ปรกติ (Healthy tissue) ที่อยู่ข้างเคียงรอยโรค โดยใช้เครื่องจำลองการรักษาด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า และเครื่องจำลองการรักษาด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ในการสร้างภาพ เพื่อวางแผนการรักษาช่วยให้ผู้ป่วย
ได้รับการรักษาที่มุ่งเป้าและลดผลข้างเคียงได้มากขึ้น โดยปัจจุบันทางศูนย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ได้นำเทคนิคการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากด้วยรังสีรักษาระยะใกล้แบบทันที (HDR Real – Time prostate brachytherapy) ช่วยให้การรักษามะเร็ง ต่อมลูกหมากในระยะต้น            มีโอกาสหายขาดสูงขึ้นโดยเป็นผลิตภัณฑ์ของ บริษัท Nucletron
> เครื่องจำลองการรักษาด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Simulator)       จำนวน 1 เครื่องเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในการ ถ่ายภาพเพื่อจำลองการรักษาโดยเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Siemens รุ่น SOMATOM Definition AS 64 Slicesพร้อมด้วยลำเลเซอร์กำหนด ตำแหน่งการฉายรังสี

> เครื่องจำลองการรักษาด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Simulator)       จำนวน 1 เครื่องเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าความเข้มสูง ความแรง 3 เทสลา (Tesla) ในการถ่ายภาพเพื่อจำลองการรักษา โดยเป็น ผลิตภัณฑ์ของบริษัท Siemens รุ่น MAGNETOM Skyra พร้อมด้วย ลำเลเซอร์กำหนดตำแหน่งการฉายรังสี โดยเป็นเครื่องแรกที่ติดตั้งในประเทศไทย