หน่วยรังสีวินิจฉัยและรังสีร่วมรักษา
ปัจจุบันหน่วยรังสีวินิจฉัยและรังสีร่วมรักษาเป็นหน่วยงานหนึ่งในงานรังสีวิทยา สังกัดกลุ่มงานแพทย์ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของหัวหน้าสาขารังสี จากเดิมที่มีเครื่องมือเพียงไม่กี่เครื่อง ขณะนี้หน่วยรังสีวินิจฉัยฯ มีเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาด้วยวิธีรังสีร่วมรักษาเพิ่มขึ้นจนสามารถให้บริการได้ครอบคลุมทุกด้าน ได้แก่
1. การบริการเอกซเรย์ทั่วไปซึ่งมีให้บริการถึง 4 จุด คือ อาคารกิตติวัฒนา(ที่ห้องฉุกเฉินและที่หน่วยรังสีวินิจฉัยฯ) อาคารดุลย์โสภาคย์ (ห้องเอกซเรย์ผู้ป่วยนอก) และอาคาร ม.ร.ว.สุวพรรณ สนิทวงศ์ฯ (ศูนย์ตรวจสุขภาพ)
2. การบริการเอกซเรย์เคลื่อนที่
3. การตรวจโดยใช้เครื่อง fluoroscopy
4. การตรวจวัดมวลกระดูก
5. การตรวจเอกซเรย์เต้านม
6. การตรวจวินิจฉัยและรักษาด้วยเครื่อง digital subtraction angiography (DSA)
7. การตรวจด้วยเครื่อง ultrasound
8. การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed tomography – CT)
9. การตรวจด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ MRI
10. การตรวจด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ด้วยเครื่อง SPECT/CT
การให้บริการด้านการตรวจวินิจฉัยและรัังสีร่วมรักษาทางรังสีวิทยาทั้งหมดใช้ระบบ picture archiving and communication system (PACS) ในการจัดเก็บรูปภาพทางการแพทย์ (medical images) และรับ-ส่งข้อมูลภาพการตรวจต่าง ๆ ของผู้ป่วยในรูปแบบ digital
ปัจจุบันมีรังสีแพทย์หรืออาจารย์ในสาขารังสี ทั้งหมด 17 คน
1.เครื่องเอกซเรย์ดิจิตอล(Digital Radiography) |
2. เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่แบบดิจิตอล(Digital Mobile X-ray unit) |
3. เครื่องอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) |
|
|
|
4. เครื่องตรวจมวลกระดูก(ฺ Bone density ) |
5. เครื่องฟลูออโรสโคปีย์(Fluoroscopy) |
6. เครื่องเอกซเรย์เต้านม(Digital Mammography) |
|
|
|
7. เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ Spectral CTComputed Tomography (CT scan) |
8. เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 128 sliceComputed Tomography (CT scan) |
9. เครื่องเอกซเรย์ DSA( Digital Subtraction Angiography ) |
10. เครื่องตรวจด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ขนาด 1.5เทสลา (MRI 1.5 Tesla) |
11. เครื่องตรวจด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ขนาด 3 เทสลา (MRI 3 Tesla) |
12. เครื่อง SPECT/CT |