1. แนวทางในการฝึกอบรม
จะเป็นการบูรณาการภาคทฤษฎีกับภาคปฏิบัติ บูรณาการการฝึกอบรมกับงานบริบาลผู้ป่วย และมีเป้าประสงค์หลักในแต่ละชั้นปี (milestone) ตามระดับสมรรถนะ (competency) ทั้ง 6 ด้าน โดยกระบวนการเรียนรู้ การประเมินของแต่ละผลลัพธ์
ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์การศีกษา (educational objective ) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (learning experiences) และการวัดผลการประเมิน (evaluation) – OLE ดูได้ที่นี่
2. แนวทางการประเมิน
ภาควิชาจัดให้มีการประเมินผลให้สอดคล้องกับแนวทางการประเมินทั้ง 7 มิติ ตามประกาศภาควิชา เรื่อง “นโยบายการวัดและประเมินผล และแนวทางการสอบแก้ตัวของแพทย์ประจำบ้าน สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย” ดังนี้
มิติที่ 1 ประเมินสมรรถนะ EPA โดยอาจารย์ผู้ฝึกอบรม
มิติที่ 2 การสอบจัดโดยภาควิชา (Summative Examination)
มิติที่ 3 การรายงานประสบการณ์เรียนรู้จากผู้ป่วย (logbook)
มิติที่ 4 การรายงานประสบการณ์วิจัย
มิติที่ 5 การร่วมกิจกรรมประชุมวิชาการทางรังสีวิทยา
มิติที่ 6 การรายงานประสบการณ์เรียนรู้จาก counselling, non-technical skills และ workshop
มิติที่ 7 การประเมินสมรรถนะด้าน professionalism และ interpersonal and communication skills
ประกาศภาควิชา เรื่อง “นโยบายการวัดและประเมินผล และแนวทางการสอบแก้ตัวของแพทย์ประจำบ้าน สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย” ดูได้ที่นี่
QR code สำหรับแบบประเมิน EPA online (google form) เปิดได้ที่นี่
3. การเลื่อนชั้นปี การส่งสอบเพื่อวุฒิบัตรฯ และการยุติการฝึกอบรมของแพทย์ประจำบ้านสาขารังสีวิทยาวินิจฉัย
เกณฑ์และกระบวนการทั้งหมดจะเป็นไปตามประกาศ ภาควิชา เรื่อง “เกณฑ์การเลื่อนชั้นปี การส่งสอบเพื่อวุฒิบัตรฯ และการยุติการฝึกอบรมของแพทย์ประจำบ้านสาขารังสีวิทยาวินิจฉัย” ดูได้ที่นี่
4. การอุทธรณ์ผลการประเมิน
แพทย์ประจำบ้านสามารถอุทธรณ์ผลการตัดสินผลการสอบและการประเมินทุกประเภทได้ โดยจะต้องปฏิบัติตามประกาศภาควิชา เรื่อง “แนวทางการอุทธรณ์ผลการตัดสินของคณะกรรมการหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”
ประกาศภาควิชา เรื่อง “แนวทางการอุทธรณ์ผลการตัดสินของคณะกรรมการหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ดูได้ที่นี่
เอกสารแสดงความจำนงในการอุทธรณ์ผลการตัดสินของคณะกรรมการหลักสูตร สามารถ download ได้ที่นี่ Word/PDF