Improving your mood : ดูแลความเศร้าของเราเอง
ในช่วงชีวิตหนึ่ง เราทุกคนคงเคยผ่านช่วงเวลาที่รู้สึกไม่มีความสุขมาบ้างและบางครั้งเราก็อาจรู้สึกเศร้า ในช่วงนั้นเรารับรู้ได้ว่ามันยากเหลือเกินที่จะบังคับตัวเองให้ลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่าง เราเบื่อที่จะทำอะไรที่เราเคยชื่นชอบ แท้จริงแล้วประสบการณ์เหล่านี้ต่างเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและเราทุกคนล้วนเผชิญกับประสบการณ์เหล่านี้ในบางเวลาของชีวิต
บางครั้งเราพบว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจมีเหตุผลซ่อนอยู่เบื้องหลัง โดยเฉพาะในเวลาที่เราต้องผ่านเรื่องราวที่หนักหนา หรือเมื่อต้องประสบกับเหตุการณ์สูญเสีย เหล่านี้เป็นสาเหตุที่ส่งผลต่ออารมณ์ของเราทั้งนั้น แต่ในทางกลับกัน บางครั้งแม้รู้สึกแต่ก็ไม่อาจทราบได้ว่าเหตุผลของความรู้สึกนั้นคืออะไรกันแน่ เราจะลองมาทำความเข้าใจและดูแลอารมณ์ของเรากัน
Five factor model
อารมณ์ความรู้สึกของเรานั้นเชื่อมโยงกับทั้งสถานการณ์รอบตัว รวมทั้ง ความคิด ร่างกาย และการกระทำของตัวเราเองด้วย
วิธีที่ง่ายและสะดวกในการสังเกตตนเองภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันของเรา คือสังเกตตัวเองผ่าน five factor model1โดยโมเดลนี้ประกอบด้วยความคิด อารมณ์ พฤติกรรมและอาการทางกาย ปัจจัยทั้งหมดนี้เชื่อมโยงกันทั้งหมด และต่างก็มีผลกระทบซึ่งกันและกัน เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่ง จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอีกทางหนึ่งตามมา
ตัวอย่างของการใช้โมเดลนี้ เช่น สถานการณ์ : โดนอาจารย์ดุ บอกว่ายังพยายามไม่พอ
ความคิด : เราทำผิดสมควรแล้วที่อาจารย์ดุ นอกจากไม่เก่งแล้วก็ยังพยายามไม่พอ
อารมณ์ : เสียใจ กังวล ผิดหวังในตัวเอง
อาการทางกาย : หัวใจเต้นแรง เหงื่อออกมือ
พฤติกรรม : หลีกเลี่ยงการปฏิบัติต่อหน้าอาจารย์
คำอธิบายเพิ่มเติม
สถานการณ์
เมื่อสถานการณ์ปัจจุบันของเราส่งผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ พฤติกรรมและอาการทางกาย
ฉะนั้น สถานการณ์ในแง่ของการดำรงชีวิต อาจเกี่ยวข้องกับรูปแบบความเป็นอยู่ของที่บ้าน และอาจเกี่ยวกับคนที่อาศัยอยู่ด้วย เช่น
-อาศัยอยู่ในบ้านเดี่ยว หรือ อาศัยในหอพัก
-อาศัยอยู่กับผู้คนหน้าใหม่ หรือ เพื่อนคนเดิม
-รู้สึกปลอดภัยในช่วงเวลาที่อาศัยอยู่ในหอพัก ในบ้าน
-รู้สึกชอบอยู่กับรูมเมท
สถานการณ์ในฐานะของการเป็นนักศึกษา รวมถึงปัจจัยเกี่ยวข้อง เช่น การเรียน การเงิน และความสัมพันธ์ เช่น
-ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ หรือ กำลังรู้สึกว่าต้องกัดฟันสู้
-กำลังเรียนร่วมกับเพื่อนที่มาจากโรงเรียนเดียวกัน หรือ เพิ่งย้ายมาจากที่อื่นและไม่รู้จักใครที่นี่เลย
-เพิ่งเลิกกับแฟนเมื่อเร็วๆ นี้
-มีเงินที่สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องกังวล หรือ ต้องทำงานเพื่อแบ่งเบาภาระทางบ้าน
การสังเกตตัวเองผ่านการทำแบบฝึกหัดนี้อาจจะช่วยให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการรับรู้ถึงสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นและมีความเกี่ยวข้องต่ออารมณ์ (ทางด้านลบ) เมื่อทราบแล้วจึงทำให้เรารู้เท่าทันและพยายามเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาวิธีการรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้
การที่เราจะจัดการกับอารมณ์ด้านลบของตัวเองได้นั้น สิ่งที่เราต้องทำเป็นอันดับแรกคือ เราต้องฝึกรู้ทันอารมณ์ตัวเองก่อนว่าตอนนี้ระดับอารมณ์เราเป็นอย่างไร
1.รับรู้อารมณ์
เมื่อขึ้นชื่อว่าความรู้สึก ความรู้สึกของคนหนึ่งอาจจะแตกต่างออกไปจากอีกคนหนึ่ง ความรุนแรงของความรู้สึกจากแต่ละเหตุการณ์ก็อาจแตกต่างกันอย่างมาก บางครั้งอาจรู้สึกรุนแรงมากและบางครั้งอาจจะไม่รุนแรงเลย หรืออาจจะอยู่ระหว่างความสุดขั้วทั้งสองด้านคือรู้สึกกลางๆ
แบบฝึกหัด 1
แบบฝึกหัดแรกนี้จึงอยากให้มาลองให้คะแนนอารมณ์ของตัวเอง ผ่านการเลือกจากช่วงตัวเลข 1 ถึง 10 ดังต่อไปนี้
จากนี้ไป ลองบันทึกอารมณ์ของตัวเองในแต่ละวัน เพื่อสังเกตว่าเรารู้ทันอารมณ์ตัวเองมากแค่ไหน และอารมณ์ของเราส่วนใหญ่เป็นอย่างไร
เป็นปกติที่จะมีคะแนนอารมณ์น้อยในบางวัน บางโอกาส แต่ถ้ามีคะแนนอารมณ์น้อย ติดต่อกันนานไปมากกว่าสองสัปดาห์ โดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน อาจแสดงให้เห็นว่าคุณกำลังเผชิญกับอารมณ์ทางลบหรืออาจเผชิญกับภาวะซึมเศร้า
แนะนำให้ลองทำแบบฝึกหัดที่1 ทุกวันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ แล้วจึงค่อยอ่านขยับไป ข้อ 2. เรื่องความคิด
บางคนอาจจะอยากอ่านให้จบรวดเดียวก็สามารถทำได้ แต่
ไม่แนะนำ ให้อ่านอย่างเดียว แต่ไม่ฝึก เพราะจะพบว่าไม่ช่วยอะไร
2. ความคิดกับอารมณ์
ความคิดของเรามักจะส่งผลต่อความรู้สึกและการกระทำเสมอ ซึ่งความคิดอาจมาจากภาวะที่รู้ตัว (conscious) เช่น “สัปดาห์นี้เรียนหนักทั้งสัปดาห์ ฉันขอให้ถึงวันเสาร์อาทิตย์เร็วๆ ได้ไหม” “สอบเสร็จแล้วฉันจะไปเดินเล่นในสวนให้สบายใจ” รวมถึงมาจากภาวะที่ไม่รู้ตัว (unconscious) เช่น ความคิดที่มักจะนำไปสู่ความรู้สึกกังวลในขณะที่ตื่นนอนช่วงเช้า หรือความคิดที่นำไปสู่ความรู้สึกสุขใจเมื่อได้มองออกไปด้านนอกหน้าต่างในวันที่ท้องฟ้าสดใส และในบางครั้งก็อาจพบว่ามีความคิดทั้งสองแบบรวมกันด้วย เช่น “เช้านี้ฉันมีสอบ แล้วถ้าฉันลืมสิ่งที่เรียนมาทั้งหมดหละ”
เมื่อเวลาผ่านไป เรามักจะพัฒนารูปแบบ (pattern) ของความคิดอัตโนมัติของเราทั้งจากภาวะที่รู้ตัวและภาวะที่ไม่รู้ตัว ซึ่งโดยทั่วไปแล้วต่างก็มีผลกระทบอย่างมากต่ออารมณ์และการทำงานของระบบโดยรวม การใช้ชีวิตประจำวันในด้านต่างๆ เมื่อเราพัฒนาตนเองจนสามารถรับรู้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดได้เร็วแล้ว ก็จะนำไปสู่การมองเห็นความคิดและอารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น สามารถสังเกต มองดูและตัดสินใจได้ว่าสิ่งนั้นเป็นประโยชน์หรือให้โทษต่อเรา
แบบฝึกหัด 2. บันทึกความคิดที่สัมพันธ์กับอารมณ์
1.ลองนึกถึงช่วงเวลาที่รู้สึกมีความสุข และพยายามจดจำสิ่งที่คุณกำลังคิดในขณะนั้น เขียนบันทึกความคิดนั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ฉันคิด ______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
วงกลมล้อมรอบความคิดที่ส่งผลต่ออารมณ์ของเรามากที่สุด
ความคิดของเราส่งผลต่ออารมณ์เราอย่างไร ___________________________________________
2. ลองนึกถึงช่วงเวลาที่รู้สึกไม่มีความสุขหรือรู้สึกเศร้า และพยายามจดจำสิ่งที่คุณกำลังคิดในขณะนั้น เขียนบันทึกความคิดนั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ฉันคิด ______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
วงกลมล้อมรอบความคิดที่ส่งผลต่ออารมณ์มากที่สุด
ความคิดของเราส่งผลต่ออารมณ์เราอย่างไร _____________________________________________
ลองทำแบบฝึกหัดนี้ทุกวัน เป็นเวลา 1 สัปดาห์
3. สังเกตความคิดตัวเอง
สิ่งที่เราควรรู้เมื่ออยากจัดการกับอารมณ์และความรู้สึกของตัวเองคือ
ความคิด ≠ ความจริง
สิ่งที่่เรารู้สึก คิดหรือเชื่อ อาจไม่ใช่ความจริงเสมอไป ความรู้สึกของเรา ความคิดของเรา ต่อสถานการณ์ต่างๆ ล้วนได้รับผลกระทบจากประสบการณ์เดิมในชีวิต สภาวะร่างกายขณะนั้น และปัจจัยอื่นๆอีกหลายด้าน
เมื่อเราสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่สัมพัธ์กับความคิดได้แล้ว ก็นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่จะรับรู้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในความคิดของเรา เฝ้าสังเกต มองดูและตัดสินใจได้ว่าความคิดเรานั้น ตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตอนนั้นหรือไม่ หรือถูกครอบงำ ด้วยประสบการณ์อื่นๆของเรา
และเมื่อพบว่าความคิดของเรา นั้นมีโอกาสที่จะไม่ตรงกับความจริงในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ เราก็สามารถตรวจสอบ พิจารณาความคิดเรา เลือกความคิดที่น่าจะใกล้เคียงความจริงและส่งผลดีต่ออารมณ์ของเรา
แบบฝึกหัดที่ 3 สังเกตความคิดตัวเอง
1. ความคิดใดในแบบฝึกหัดที่ 2 เชื่อมโยงกับความรู้สึกไม่มีความสุข เศร้า ของเรามากที่สุด
______________________________________________________________________
2. ความคิดนั้นเป็นความจริงหรือไม่ ลองพิจารณาทั้ง 2 มุม ใส่เหตุผลที่นึกออกทั้งหมด
(เช่น ความคิดว่า เพื่อนคงไม่ชอบเรา อาจจะจริงเพราะ วันนี้เขาไม่ทักเราตอนเดินสวนกัน แต่ก็อาจจะไม่จริงเพราะ วันก่อนเขาก็ทักดี มาชวนเราคุยด้วย และวันนี้เขาก็ดูรีบๆ อาจจะมองไม่เห็นเรา )
อาจจะจริง เพราะ ___________________________________________________
อาจจะไม่จริง เพราะ___________________________________________________
3. หากเราคิดหรือเชื่อแบบนี้ต่อไป จะส่งผลกับความความรู้สึก หรือการกระทำของตัวเราอย่างไร
_____________________________________________________________________
4. ความคิดนี้ เป็นประโยชน์/ส่งผลดี หรือเป็นอันตราย/ส่งผลเสีย ต่อชีวิตเรามากกว่ากัน
______________________________________________________________________ .
ลองทำแบบฝึกหัดนี้ทุกวัน เป็นเวลา 1 สัปดาห์
มีรูปแบบของความคิดบางแบบ ที่เราใช้โดยไม่รู้ตัวและส่งผลต่ออารมณ์ซึมเศร้าด้านลบ เช่น All or nothing, catastrophizing, predicting the future, overgeneralization, mind reading เป็นต้น หากไม่แน่ใจว่าความคิดของเรา เข้ากับรูปแบบความคิดนี้ไหม สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ และค่อยๆ สังเกตตัวเอง
4. พฤติกรรม
เมื่อเรารู้สึกดี กระตือรือร้น หรือตื่นเต้นเกี่ยวกับชีวิต เราแสดงออกผ่านการกระทำของเรา เช่นเดียวกับเวลาที่เรารู้สึกเศร้า โดดเดี่ยวหรือไม่ปลอดภัย หลายครั้งอารมณ์ของเราก็ส่งผลต่อการกระทำและพฤติกรรมของเรา และอีกหลายครั้ง กระกระทำและพฤติกรรมของเราก็ส่งผลต่ออารมณ์
แบบฝึกหัด 4 บันทึกพฤติกรรม
ลองนึกถึงเวลาที่พฤติกรรมส่งผลต่ออารมณ์ และเขียนบันทึกไว้
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
ลองนึกถึงเวลาที่อารมณ์ส่งผลต่อพฤติกรรม และเขียนบันทึกไว้
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
เมื่อเผชิญกับอารมณ์เศร้า หลายคนมีความต้องการที่จะนอนอยู่บนเตียงและหลีกเลี่ยงการออกมาใช้ชีวิต ปรารถนาให้วันผ่านไปอีกวันหนึ่ง และเมื่อรู้สึกแบบนี้ พลังงานก็ลดลง เวลาตื่นนอนหรือเวลาที่ต้องดึงตัวเองขึ้นมาทำอะไรสักอย่างก็ยากขึ้นมากกว่าเดิม
พฤติกรรมต่อไปนี้ มักพบได้บ่อยในคนที่รู้สึกไม่ค่อยมีความสุข (low mood) หรือรู้สึกเศร้า
-ร่วมกิจกรรมทางสังคมน้อยลง
-ไม่อยากไปเรียน ไม่อยากทำงาน
-ลดกิจกรรมที่เคยทำลง
-ดูแลตัวเองไม่ค่อยดี
-การนอน การรับประทานเปลี่ยนไป
หากเรามีพฤติกรรม เช่นนี้ ลองสังเกตว่าเราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใดได้บ้าง และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นส่งผลต่ออารมณ์เราอย่างไร
5. อาการทางกาย
สภาพร่างกายก็เป็นอีกอย่างที่สามารถสะท้อนถึงอารมณ์ของเรา ในเวลาที่รู้สึกมีความสุขหรือร่าเริงสดใสเมื่อมีบางอย่างเกิดขึ้นกับเรา เคยสังเกตไหมว่ามีอะไรเกิดขึ้นภายในร่างกายของเรา เราอาจจะรู้สึกถึงพลังงานบางอย่างเมื่อรู้สึกมีความสุข ความเจ็บไข้ก็ดูเหมือนจะมลายหายไปสักพัก ในทางกลับกัน เมื่อเรารู้สึกไม่มีความสุขหรือรู้สึกเศร้า ร่างกายของเราก็มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเช่นกัน
ตัวอย่างของอาการทางกายที่พบได้
-รู้สึกมีแรง/มีพลัง
-เหนื่อยล้า/ หมดแรง/ หมดพลัง
-อยากอาหารเพิ่มมากขึ้นหรือลดลง น้ำหนักมากขึ้นหรือลดลง
-ความต้องการทางเพศลดลง
-ปวดหัว
-คลื่นไส้
-ตึงเครียด
-ได้พักเต็มที่ well rested
-สุขภาพดี wellness
แบบฝึกหัด 5 บันทึกความรู้สึกทางกาย
ลองนึกถึงเวลาที่มีเรื่องดีดีเกิดขึ้นแล้วรู้สึกมีความสุข ตอนนั้นรู้สึกถึงอาการทางกายแบบไหน เขียนบันทึกไว้
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
ลองนึกถึงเวลาที่รู้สึกเป็นทุกข์หรือซึมเศร้า ตอนนั้นรู้สึกถึงอาการทางกายแบบไหน เขียนบันทึกไว้
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
6.เชื่อมโยงอารมณ์กับ สิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกและภายในตัวเอง
อารมณ์ของเราอาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละวัน แต่ละชั่วโมง และอาจเปลี่ยนแปลงในแต่ละชั่วโมง ซึ่งอารมณ์ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับทุกสิ่งที่กล่าวมาในแบบฝึกหัดก่อนหน้านี้ แบบฝึกหัดต่อไปนี้จะช่วยให้ได้ลองสังเกตว่าแต่ละปัจจัยนั้นเชื่อมโยงกับอารมณ์ได้อย่างไร
(สถานการณ์ นำไปสู่ ความคิด อารมณ์ พฤติกรรมและอาการทาง)
แบบฝึกหัด 6 เชื่อมโยงอารมณ์
1. ลองนึกถึงเวลาที่รู้สึกมีความสุข และเขียนบันทึกตามหัวข้อที่กำหนดให้
สถานการณ์
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
ความคิด
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
____________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
สามารถโหลดภาพเหล่านี้ เพื่อลองนำไปใช้ได้เลย