พันธกิจ/ค่านิยม

วิสัยทัศน์

งานบริการการศึกษาเป็นแหล่งรวบรวมและบริการข้อมูลทางการศึกษาเพื่อสนับสนุนความเป็นเลิศด้านการศึกษา


ภาระหน้าที่หลักของงานบริการการศึกษา   

1. สนับสนุนการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรทุกหลักสูตรระดับปริญญาตรี
2. สนับสนุนเรื่องการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี และแพทย์ประจำบ้าน/แพทย์ต่อยอด และนักศึกษาต่างคณะ
3. สนับสนุนการวัดและประเมินผลระดับปริญญาตรีทุกหลักสูตร และแพทย์ประจำบ้าน/ต่อยอด และนักศึกษาต่างคณะ
4. ดำเนินการสอบคัดเลือกนักศึกษาระดับปริญญาตรี แพทย์ประจำบ้าน/ต่อยอด และทะเบียนนักศึกษา
5. สนับสนุนการพัฒนาห้องฝึกปฏิบัติทักษะและหัตถการทางคลินิก (Clinical Skill Center)
6. สนับสนุนและพัฒนาการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรและ WFME (World Federation for Medical Education)
7. สนับสนุนและดำเนินการจัดทำงานวิจัยด้านแพทยศาสตรศึกษาประเมินหลักสูตรและติดตามประเมินบัณฑิต
8. สนับสนุนพัฒนาอาจารย์ การขอตำแหน่งวิชาการ ทุนการศึกษาต่อ ทุนจัดทำตำราและสื่อการสอนของอาจารย์
9. บันทึก ภาระงานสอนและCME ของอาจารย์ในคณะ
10. ประสานงานการประเมินการสอนของอาจารย์และการประเมินผลงานวิชาการด้านตำรา และสื่อการสอน
11. สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษระดับคลินิก


ภาระหน้าที่อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย  

1. ดำเนินการจัดสอบคัดเลือกร่วมกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย
2. ดำเนินการจัดสอบประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ขั้นตอนที่ 1,2 ,3 และ MEQ
3. จัดสร้างฐานข้อมูลของงานบริการการศึกษา
4. ตรวจกระดาษคำตอบรายวิชาพื้นฐานชั้นปีที่ 1 ให้กับต่างคณะและคณะต่างๆ
5. ดำเนินการจัดสอบ Long case สำหรับนักศึกษาผู้จบต่างประเทศ
6. สนับสนุนการจัดการฝึกอบรมแพทย์ฝึกหัดที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ


ค่านิยมร่วมของงานบริการการศึกษา

งานบริการการศึกษามีการจัดทำค่านิยมร่วม (Core Value) ของงานบริการการศึกษา โดยการระดมความคิดของบุคลากรงานบริการการศึกษา เพื่อกำหนดค่านิยมร่วมของงานบริการการศึกษา ในการปลูกจิตสำนึกในการปฏิบัติงาน ดังนี้

ค่านิยมร่วม(Core Value) ของงานบริการการศึกษา “SMILES”

  • S = Service Mind : จิตสำนึกในงานบริการ

  • M = Moral : คุณธรรมจริยธรรม

  • I = Innovation : นวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่

  • L = Lifelong Learning : การเรียนรู้ตลอดชีวิต

  • E = Efficiency : ความมีประสิทธิภาพ

  • S = Satisfaction : ความพึงพอใจของผู้รับบริการ

          1. จิตสำนึกในงานบริการ (Service Mind) คือ การให้บริการที่มีประสิทธิภาพ มิใช่เกิดขึ้นจากการทำงานของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น การบิการที่สามารถนำความพอใจความประทับใจแก่ลูกค้าได้นั้น ย่อมเกิดขึ้นจากความร่วมมือ การร่วมแรง ร่วมใจกันของคนมากกว่าหนึ่งคน เป็นการทำงานของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ไปในทิศทางเดียวกัน มีความร่วมมือกัน และความรับผิดชอบร่วมกันในความสำเร็จหรือความล้มเหลว

          2. คุณธรรมจริยธรรม (Moral) คือ สภาพความดีงามทั้งหลายที่ฝังลึกอยู่ในจิตสำนึกของบุคคล มีจิตใจเอื้อเฟื้อ มีวินัย มีความรับผิดชอบสุจริตเที่ยงธรรม คุณความดีที่ควรปฏิบัติ หรือแนวทางของการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดีเพื่อประโยชน์ของตนและส่วนรวม

          3. นวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ (Innovation) คือ ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ทั่งไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

          4. การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) คือต้องครอบคลุมการเรียนรู้ทุกประเภทแบบตลอดช่วงชีวิต มีมุมมองแบบองค์รวม ที่ครอบคลุมกิจกรรมการเรียนรู้ทุกด้าน โดยมีเป้าหมายที่จะปรับปรุงความรู้และความสามารถและเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง สร้างความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องและต้องใช้เวลายาวนาน ในขณะที่แนวคิดนี้ต้องได้รับการสนับสนุนและดำเนินการอย่างจริงจัง

          5. ความมีประสิทธิภาพของการดำเนินงานบริการ ( Efficiency ) ความสำเร็จของการบริการขึ้นอยู่กับการบริการอย่างเป็นระบบที่มีขั้นตอนที่ชัดเจนจากการบริการเป็นงานที่เกี่ยวข้องระหว่างคนกับคน การกำหนด “ปรัชญาการบริการ” ( Service theme ) หรือแผนในการให้บริการ และการพัฒนากลยุทธ์เกี่ยวกับการบริการเพื่อให้มีคุณภาพสม่ำเสมอ แล้วนำมากำหนดเป้าหมายของการบริการ รวมทั้งรูปแบบและปัจจัยพื้นฐานของการบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ ปฏิบัติงานการตรวจสอบและปรับปรุงการดำเนินงานบริการอย่างสม่ำเสมอให้เป็นไปตามเกณฑ์และความคาดหวังของผู้รับบริการ ตลอดจนการฝึกอบรมบุคลากรผู้ปฏิบัติงานบริการให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้มาตรฐานคุณภาพของงานบริการอย่างสม่ำเสมอ

          6 . ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ( Satisfaction ) การให้บริการที่ดีต้องมีเป้าหมายอยู่ที่ผู้รับบริการเป็นหลักสำคัญ โดยผู้ให้บริการจะต้องถือว่าเป็นหน้าที่โดยตรงที่จะพยายามกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ สามารถรับรู้ความต้องการของผู้รับบริการและแสดงพฤติกรรมที่สนองการบริการได้ตรงกับความคาดหวังที่มีอยู่ ผู้รับบริการย่อมเกิดความพึงพอใจและมีความรู้สึกที่ดีต่อการบริการ