ประวัติความเป็นมา


การเจริญเติบโตของสถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว

              คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดรับนักศึกษาแพทย์รุ่นแรกในปีการศึกษา 2534 ปรัชญาของหลักสูตร คือ การมุ่งผลิตบัณฑิตแพทย์ให้มี ความรู้ ทักษะ และเจตคติที่สามารถปฏิบัติงานได้ในชุมชนต่าง ๆ ของประเทศไทย เน้นการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักและใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้สถานการณ์จริง (Problem-based learning: PBL และ Community-based learning: CBL) การดำเนินงานและการบริหารจัดการของคณะฯ ในระยะแรกแบ่งเป็น 2 สถาน ได้แก่ สถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิก และสถานวิทยาศาสตร์คลินิก โดยสาขาเวชศาสตร์ชุมชนเป็นสาขาวิชาหนึ่งในสถานวิทยาศาสตร์คลินิก ต่อมาในปีพ.ศ. 2538 คณะฯ ได้เสนอให้แยกเป็นโครงการจัดตั้งสถานเวชศาสตร์ชุมชน ครอบครัว และเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ต่อทบวงมหาวิทยาลัย คณะฯ ได้พิจารณาเรื่องนี้เป็นกรณีพิเศษและได้อภิปรายข้อดีและข้อจำกัด ในที่สุดทบวงรับหลักการและเตรียมนำเสนอตามระบบราชการ เพื่อประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาต่อไป แต่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลก่อนนำเรื่องโครงการจัดตั้งสถานเวชศาสตร์ชุมชนฯ เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาการจัดตั้งเป็นสถานเวชศาสตร์ชุมชนฯ เรื่องนี้จึงถูกชะลอไว้ก่อน
ปี พ.ศ. 2541 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุชาติ อินทรประสิทธิ์ เป็นคณบดี ได้จัดตั้งคณะทำงาน เพื่อดำเนินการจัดตั้งสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว มีอาจารย์ศรีเมือง พลังฤทธิ์ เป็นเลขานุการ มีการจัดประชุม มีการไปศึกษาดูงานที่ศูนย์แพทย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และมีการจัดสัมมนา อีกทั้งศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์เฉลิม วราวิทย์ ได้เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ขอทุนสนับสนุนวิจัยจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทำวิจัยในพื้นที่ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อสร้างโมเดลต้นแบบ การให้บริการด้านเวชศาสตร์ครอบครัว ที่สถานีอนามัยคลองสี่ โดยได้รับ อาจารย์ แพทย์หญิงนิตยา วงศ์เสงี่ยม มาช่วยดำเนินงาน ต่อมารองศาสตราจารย์ นายแพทย์กัมมาล กุมาร ปาวา เป็นคณบดี ได้ขยายสถานบริการทางสุขภาพไปที่ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ให้บริการทางสุขภาพในลักษณะศูนย์แพทย์ฯ และได้ย้ายมาเช่าอาคาร อยู่ใกล้ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต ต่อมานายแพทย์เฉก ธนะสิริ ได้บริจาคที่ดิน 10 ไร่ หมู่ 18 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ให้กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อจัดสร้างอาคารบริการทางสุขภาพและให้ชื่อว่า ศูนย์แพทย์ปฐมภูมิและแพทย์แผนไทยประยุกต์
ปี พ.ศ. 2546 คณะฯ ได้ดำเนินการในทางปฏิบัติด้วยการแต่งตั้งหัวหน้าโครงการจัดตั้ง สถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว พร้อมกับมีเจ้าหน้าที่ธุรการประจำและดำเนินงานตามพันธกิจ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียนการสอน ด้านวิจัย ด้านบริการวิชาการ และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภายใต้โครงสร้างของโครงการจัดตั้งสถานเวชศาสตร์ชุมชนฯ ตั้งแต่นั้นมา ต่อมาสาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา ได้ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายคณะฯ ในปี พ.ศ. 2546 และเป็นอีก 1 สาขาวิชาที่อยู่ในโครงการจัดตั้งสถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว
จากมติที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 6/2555 วันที่ 27 กันยายน 2555 ได้อนุมัติให้ สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษารวมเข้ากับสาขาเวชศาสตร์ชุมชน ดังนั้นโครงการจัดตั้งสถานฯ ณ เวลานั้น จึงมี 2 สาขา คือ สาขาเวชศาสตร์ชุมชนและสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว
จากประกาศของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง การได้มาซึ่งบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสาขาวิชา หัวหน้าโครงการจัดตั้งภาควิชา และหัวหน้าโครงการจัดตั้งสถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว (ฉบับที่ 3) ที่ให้เปลี่ยนชื่อจาก “โครงการจัดตั้งสถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว” เป็น “สถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว” นับตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2558 เป็นต้นไป และจากประกาศนี้จึงได้เปลี่ยนจากโครงการจัดตั้งสถานฯ เป็นสถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว
จากมติที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2559 ได้รับรองการปรับโครงสร้างใหม่ของคณะแพทยศาสตร์ ภายใต้พระราชบัญญัติการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558 ให้สถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัวเป็นอีกหนึ่งสถานของคณะฯ จากนั้นทางคณะฯ ได้เสนอต่อสภามหาวิทยาลัยและได้รับอนุมัติการปรับโครงสร้างใหม่จากการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่6/2560 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2560 ให้คณะแพทยศาสตร์มีโครงสร้างใหม่ตามที่เสนอ และจากการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561 ได้ออกข้อบังคับเรียกว่า “ ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการแบ่งส่วนงานในคณะแพทยศาสตร์เป็นภาควิชา พ.ศ. 2561” ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 144 ง หน้า 30 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2561 ให้สถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัวเป็น 1 ภาควิชา

History

The Faculty of Medicine, Thammasat University, accepted the first generation of medical students in 1991. The program’s philosophy is to produce medical graduates with the knowledge, skills, and attitude to work in various communities in Thailand, emphasizing problem-based and community-based learning (PBL and CBL). Initially, the faculty had two departments: preclinical sciences and clinical sciences, with community medicine being one division in the clinical sciences department.

In 1995, the faculty proposed to the Ministry of University Affairs the establishment of a community, family, and emergency medicine center. The faculty seriously considered this matter and discussed its advantages and limitations. Finally, the ministry accepted the principles and prepared to present them according to the bureaucracy to be announced as a royal decree. However, the government resigned before proposing the project to the House of Representatives. This matter was, therefore, put on hold.

In 1998, Professor Dr. Suchart Intharaprasit, the Dean of Faculty, established a working group to establish a division of family medicine, with Ajarn Srimuang Palangrit as the secretary. The group conducted study tours at the Ayuthaya Medical Center. Professor Emeritus Dr. Chalerm Warawit led a research project funded by the National Research Council (NRCT) in the Khlong Si, Khlong Luang, Pathum Thani, to create a prototype for family medicine services at Khlong Si Health Center with Dr. Nitttaya Wongsaengiam assisting.
Later, Associate Professor Dr. Kamal Kumar Pawa, the Dean of Faculty, moved the center to the rented building near the Zeer Rangsit Shopping Center, Khu Khot, Lam Luk Ka, Pathum Thani, and provided more medical services there. Dr. Chaek Thanasiri donated ten rai of land in Khu Khot, Lam Luk Ka, to the faculty to build a health service facility named the Primary Care and Applied Thai Traditional Medicine Center.

In 2003, the faculty appointed a project leader to establish the Department of Community Medicine and Family Medicine, with regular administrative staff according to the faculty’s missions in teaching, research, academic services, and preservation of art and culture. The faculty later established the Division of Educational Technology in 2003 under the project to establish the Department of Community Medicine and Family Medicine before it was integrated into the Division of Community Medicine on September 27, 2012.

According to the faculty’s announcement, titled “Acquisition of persons worthy of appointment as Head of Division and Head of Department of Community Medicine and Family Medicine (No. 3),” the department’s name was changed from “The Establishment Project of the Department of Community Medicine and Family Medicine” to “The Department of Community Medicine and Family Medicine” on March 19, 2015.

The faculty committee officially endorsed the Department of Community Medicine and Family Medicine in an organizational structure on May 19, 2013, under the Thammasat University System Act 2015. It then proposed the new organizational structure to the Thammasat University Council, which approved it on June 26, 2017 [University Council meeting. No. 6/2017]. On April 30, 2018, the council issued the Thammasat Regulation: The division of work in the Faculty of Medicine into departments, B.E. 2561 2018, which was announced in the Royal Gazette, Volume 135, Special Section 144 D, Page 30 on June 21, 2018. This regulation stated that “the Department of Community Medicine and Family Medicine” was one of the departments in the Faculty of Medicine, Thammasat University.

 


วิสัยทัศน์

              เป็นองค์กรแห่งความสุข และเป็นต้นแบบในการบูรณาการองค์ความรู้ทางเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัวเพื่อการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการ


พันธกิจ

  1. พัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งความสุข
  2. บูรณาการองค์ความรู้ทางเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เป็นต้นแบบให้แก่สถาบันการศึกษาอื่นๆ
  3. บูรณาการองค์ความรู้ทางเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว ด้านการวิจัยที่เป็นต้นแบบให้แก่สถาบันอื่นๆ
  4. บูรณาการองค์ความรู้ทางเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว ด้านการบริการที่เป็นต้นแบบให้แก่สถาบันอื่นๆ

              ในปีการศึกษา 2562 จำนวนอาจารย์ของสถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว มี 20 คน จำแนกตามสาขาวิชา ตำแหน่งทางวิชาการและคุณวุฒิดังตาราง และมีเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนจำนวน 5 คน

ตารางแสดงจำนวนคณาจารย์สถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว

ในปีการศึกษา 2562 จำแนกตามสาขาวิชา ตำแหน่งทางวิชาการและคุณวุฒิทางการศึกษา (*)

อาจารย์จำแนกตาม
สาขาวิชา

รวม

ศาสตราจารย์

รองศาสตราจารย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

อาจารย์

ปริญญาเอก

ปริญญาเอก

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

ปริญญาโท

ปริญญาตรี

สาขาเวชศาสตร์ชุมชน

14

1

2

1

4

1

2

2

1

สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว

6

1

4

1

*ปฏิบัติงานจริง 16 คน ลาศึกษาต่อในระดับปริญญาโท/ปริญญาเอก 4 คน

              In the academic year 2019, the number of instructors of the Establishment Program is 20, broken down by fields, academic ranks and qualifications in the table below, and there are five supporting officers.

              Table depicting the number of instructors of the Establishment Program in the academic year 2019, broken down by fields, academic ranks and qualifications *

Instructors by Field

Total

Professors

Associate Professors

Assistant Professors

Lecturers

Doctoral Degree

Doctoral Degree

Master’s Degree

Doctoral Degree

Master’s Degree

Doctoral Degree

Master’s Degree

Bachelor’s Degree

Community Medicine

14

1

2

1

4

1

2

2

1

Family Medicine

6

              –

1

4

1

* Actually working: 18 instructors; on leave for Ph.D. study or Residency Training : 2 instructors (10/5/2022)


รายชื่อหัวหน้าสถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว

ลำดับที่

รายชื่อ ตั้งแต่วันที่

ตั้งแต่วันที่

1.

 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กัมมาล กุมาร ปาวา

11 กุมภาพันธ์ 2546

 14 เมษายน 2547

2.

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วิวัฒน์  พุทธวรรณไชย

15 เมษายน 2547

30 พฤศจิกายน 2548

3.

รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สุรศักดิ์  บูรณตรีเวทย์

1 ธันวาคม 2548

30 เมษายน 2551

4.

รองศาสตราจารย์ ดร.สวนิต   อ่องรุ่งเรือง

1 สิงหาคม 2552

1 สิงหาคม 2554

5.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีเมือง   พลังฤทธิ์

6 ตุลาคม 2554

31 พฤษภาคม 2555

6.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สวณี   เต็งรังสรรค์

11 มิถุนายน 2555

31 พฤษภาคม 2558

7.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สวณี   เต็งรังสรรค์

 1 มิถุนายน 2558

31 พฤษภาคม 2561

8.

รองศาสตราจารย์ ดร.ศรีเมือง   พลังฤทธิ์

 1 มิถุนายน 2561

31 พฤษภาคม 2564
 9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สวณี   เต็งรังสรรค์ 1 มิถุนาย 2564 ปัจจุบัน
 
 
 
 
 
 
 


รายชื่อหัวหน้าสาขาเวชศาสตร์ชุมชน

ลำดับที่

รายชื่อ

ตั้งแต่วันที่

ตั้งแต่วันที่

1.

อาจารย์ แพทย์หญิงสมบูรณ์   เกียรตินันทน์

พ.ศ.2533

กันยายน 2537

2.

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ทองจันทร์  หงศ์ลดารมภ์

ตุลาคม 2537

        พ.ศ. 2540

3. 

 ศาสตราจารย์ นายแพทย์เฉลิม  วราวิทย์ (รักษาการ)

 กันยายน 2540

พฤศจิกายน 2540

4.

รองศาสตราจารย์ ดร.สวนิต   อ่องรุ่งเรือง

พฤศจิกายน 2540

พฤศจิกายน 2541

5.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เพียงจันทร์  เศวตศรีสกุล

 พฤศจิกายน 2541

พฤษภาคม 2543

6.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์  จินตกานนท์

 พฤษภาคม 2543

ธันวาคม 2543

7.

อาจารย์ สวณี   เต็งรังสรรค์

ธันวาคม 2543

กุมภาพันธ์ 2545

8.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชุมพจต์   อมาตยกุล

 กุมภาพันธ์ 2545

พ.ศ. 2546

9.

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กัมมาล กุมาร ปาวา (รักษาการ)

พ.ศ. 2546

กันยายน 2547

10.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สวณี   เต็งรังสรรค์

ตุลาคม 2547

พฤศจิกายน 2548

11. 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีเมือง   พลังฤทธิ์

พฤศจิกายน 2548

31 พฤษภาคม 2552

12. 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีเมือง   พลังฤทธิ์

 1 มิถุนายน 2552

31 พฤษภาคม 2555

13.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สวณี   เต็งรังสรรค์

1 มิถุนายน 2555

31 พฤษภาคม 2558

14.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สวณี   เต็งรังสรรค์

1 มิถุนายน 2558

31 พฤษภาคม 2561

15.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สวณี   เต็งรังสรรค์

1 มิถุนายน 2561

31 พฤษภาคม 2564

 16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภิกา  แดงกระจ่าง

1 มิถุนายน 2564

ปัจจุบัน
 
 

รายชื่อหัวหน้าสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว

ลำดับที่

รายชื่อ

ตั้งแต่วันที่

ตั้งแต่วันที่

1.

อาจารย์ แพทย์หญิง นิตยา   วงศ์เสงี่ยม

23 พฤศจิกายน 2541

 30 ตุลาคม 2546

2.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วิวัฒน์  พุทธวรรณไชย

10 กันยายน 2547

มกราคม 2549

3.

อาจารย์ นายแพทย์ฉัตรนรินทร์  เมธีกุล

26 มกราคม 2548

1 ธันวาคม 2549

4.

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนิตยา  ทนุวงษ์

29 ธันวาคม 2549

30 กันยายน 2551

5.

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วิวัฒน์  พุทธวรรณไชย

1 ตุลาคม 2551

31 พฤษภาคม 2552

6.

 อาจารย์ แพทย์หญิงวิศรี    วายุรกุล

1 มิถุนายน 2552

31 พฤษภาคม 2555

7.

 อาจารย์ แพทย์หญิงวิศรี    วายุรกุล

1 มิถุนายน 2555

1 มีนาคม 2556

8.

อาจารย์ แพทย์หญิงเพชรรัตน์   บุนนาค

1 มิถุนายน 2556

31 พฤษภาคม 2558

9.

 อาจารย์ แพทย์หญิงนติมา   ติเยาว์

 1 มิถุนายน 2558

31 พฤษภาคม 2561

10.

อาจารย์ แพทย์หญิงวิศรี    วายุรกุล

1 มิถุนายน 2561

31 พฤษภาคม 2564
 11. อาจารย์ แพทย์หญิงเรือนขวัญ กัณหสิงห์ 1 มิถุนายน 2564

ปัจจุบัน

 
 
 
 
 

 


รายชื่อหัวหน้าสาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา

ลำดับที่ รายชื่อ ตั้งแต่วันที่ ถึง
1.
2.
อาจารย์ สุภิกา  แดงกระจ่าง
อาจารย์ อภิชา น้อมศิริ
30 พ.ค 2546
30 พ.ค.2555
29.พ.ค. 2555

30 พ.ค. 2558